รถยนต์ไฟฟ้า คือเทรนด์ใหม่ของตลาดยานยนต์ทั่วโลก ช่วยลดการใช้น้ำมัน รวมถึงช่วยลดการปล่อยมลพิษจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์สันดาป เพราะระบบมอเตอร์ไฟฟ้าไม่ปล่อยไอเสียออกมา แต่รู้มั้ยว่าหัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามีหลายแบบ และมีระบบเก็บประจุไฟฟ้าแตกต่างกัน แล้วหัวชาร์จแต่ละแบบแตกต่างกันยังไง เลือกติดตั้งยังไงให้ถูกสเปกกับรถของเรา วันนี้ heygoody มีคำตอบให้กับทุกคน
หัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV ตอนนี้มีทั้งหมด 3 ประเภทหลัก ๆ คือ หัวชาร์จแบบธรรมดา, หัวชาร์จแบบ Double Speed Charger และหัวชาร์จแบบ Quick Charger ทั้ง 3 แบบมีประเภทแยกย่อยลงไปอีก ดังนี้เลย
หัวชาร์จรถไฟฟ้า AC หรือกระแสสลับแบบ Normal Charger คือสายที่ออกแบบให้ต่อจากเต้ารับไฟฟ้าในบ้านโดยตรง ข้อจำกัดคือมิเตอร์ไฟฟ้าต้องเป็น 15 (45)A และต้องใช้เต้ารับที่รองรับกับตัวปลั๊กของหัวชาร์จโดยเฉพาะ ทำให้ใช้เวลาชาร์จนานกว่า 12-16 ชั่วโมงถึงจะเต็มความจุของแบตเตอรี่ หัวชาร์จรถไฟฟ้าแบบธรรมดามี 2 แบบคือ
หัวชาร์จรถไฟฟ้า Type 1 นิยมใช้ในกลุ่มทวีปอเมริกาเหนือและประเทศญี่ปุ่น หัวต่อแบบ 5 Pin ใช้กระแสไฟฟ้า AC แบบ Single-Phase รองรับกระแสไฟฟ้า 32 A / 250 V
หัวชาร์จรถไฟฟ้า Type 2 นิยมใช้ในกลุ่มทวีปยุโรปและประเทศในเอเชีย หัวต่อแบบ 7 Pin ใช้กระแสไฟฟ้า AC แบบ Single-Phase รองรับกระแสไฟฟ้า 70A / 250V และ 3 Phase 63A / 480 V
หัวชาร์จรถไฟฟ้า AC หรือกระแสสลับแบบ Double Speed Charger หรือการชาร์จจากเครื่อง Wall Box นิยมติดตั้งไว้ที่บ้านเป็นหลัก มีความปลอดภัยมากกว่าหัวชาร์จรถไฟฟ้า Normal Charger และใช้เวลาชาร์จน้อยกว่าเฉลี่ย 4-7 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับขนาดของ Wall Box และความจุแบตเตอรี่ โดยมีหัวชาร์จ 2 แบบคือ
เป็นหัวชาร์จ Type 1 ใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าในกลุ่มทวีปอเมริกาเหนือและประเทศญี่ปุ่น ใช้กระแสไฟฟ้า AC แบบ Single-Phase รองรับกระแสไฟฟ้า 16A, 40A และ 48A / 240 V
เป็นหัวชาร์จ Type 2 ใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าในกลุ่มทวีปยุโรปและประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย ใช้กระแสไฟฟ้า AC แบบ 3 Phase รองรับกระแสไฟฟ้า 16A และ 32 A / 250 V
สุดท้ายเป็นหัวชาร์จรถไฟฟ้ากระแสตรงหรือ DC Charging เหมาะกับผู้ที่ต้องการชาร์จในเวลาเร่งด่วนจาก 0-80% ภายใน 40-60 นาที มีหัวชาร์จทั้งหมด 3 แบบคือ
หัวชาร์จ CHAdeMO (CHArge de MOve) รองรับกระแสไฟฟ้า 200A / 600V จุดเด่นคือชาร์จไฟแล้วขับต่อได้ทันที นิยมใช้ในประเทศญี่ปุ่น
หัวชาร์จ GB/T เป็นนวัตกรรมจากจีนแผ่นดินใหญ่ และพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบรับความนิยมของผู้ใช้รถไฟฟ้าที่มากขึ้น มีทั้งแบบ AC และ DC
หัวชาร์จ CSS (Combined Charging System) เป็นนวัตกรรมที่นำ AC Charging มาเพิ่มหัวต่ออีก 2 Pin เพื่อให้รองรับการชาร์จแบบ DC Charging ได้ มีทั้งหมด 2 แบบคือ
การติดตั้งหัวชาร์จรถไฟฟ้าทุกประเภท ต้องให้ความสำคัญกับอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมด 6 สิ่งดังนี้
ความแพร่หลายของรถยนต์ไฟฟ้าในไทยเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ และมีแนวโน้มได้รับความนิยมมากขึ้นไปอีก แต่ในปัจจุบันค่าซ่อม ค่าบริการก็ยังมีราคาสูงพอสมควร ถ้าต้องจ่ายเองสู้ทำประกันรถยนต์ไฟฟ้ายังไงก็ดีกว่า ค่าเบี้ยถูกเริ่มต้นปีละ 19,000 บาทเท่านั้น เลือกแผนกรมธรรม์โดนใจกับ heygoody มาพร้อมบริษัทชั้นนำมากกว่า 17 ราย โปรโมชันจัดเต็ม เลือกผ่อน 0% ได้นานสุด 10 เดือน สนใจซื้อประกันกับเราติดต่อได้เลย
ที่มาของข้อมูล : autospinn
การันตีความสำเร็จ จากเวทีระดับโลก
ดูรางวัลทั้งหมด