คนใช้รถทุกคันคงไม่มีใครไม่รู้จัก พ.ร.บ. รถยนต์ เพราะเป็นหลักประกันที่ภาครัฐบังคับให้ทุกคนต้องทำตามที่กฎหมาย พ.ร.บ. จราจร พ.ศ. 2522 ระบุไว้ เพื่อช่วยคุ้มครองผู้ขับขี่และคู่กรณีจากอุบัติเหตุจราจร ทั้งความเสียหายต่อร่างกาย สูญเสียอวัยวะ พิการถาวร และเสียชีวิต สำหรับเหล่ากู๊ดดี้มือใหม่อาจยังไม่รู้ว่าการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ต้องทำอะไรบ้าง และได้ขาดต่อนาน ๆ ผิดกฎหมายมั้ย วันนี้ heygoody มีคำตอบ
กรณีขับรถยนต์ที่ พ.ร.บ. ขาดต่อหรือหมดอายุแล้วเจอเจ้าหน้าที่เรียกตรวจมีโทษปรับสูงสุด 10,000 บาท ถ้าต่อแล้วแต่ไม่ติดป้ายสี่เหลี่ยมที่กระจกหน้ามีโทษปรับ 1,000 บาท มากไปกว่านั้น ยังเสียโอกาสรับความคุ้มครองตามที่ควรจะได้ ดังนี้
ถ้าไม่อยากเสียโอกาสและโดนโทษ เหล่ากู๊ดดี้สามารถต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ล่วงหน้าได้มากถึง 90 วัน พร้อมต่อภาษีรถยนต์ได้เลย ป้องกัน พ.ร.บ. ขาดโดยไม่ได้ตั้งใจ
การต่อ พ.ร.บ. รถยนต์มีหลายสิ่งที่ต้องเตรียมไม่ว่าจะเป็นเอกสาร ค่าใช้จ่าย และสถานที่ซื้อ พ.ร.บ. มีรายละเอียด ดังนี้
อัตราค่าเบี้ย พ.ร.บ. รถยนต์เป็นแบบคงที่ไม่มีการปรับขึ้น โดยแยกราคาตามประเภทรถดังนี้
*อัตราค่าเบี้ยทั้งหมดยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
จริงอยู่ ที่ พ.ร.บ. รถยนต์เป็นประกันภัยภาคบังคับต้องทำทุกคัน แต่ความคุ้มครองถูกจำกัดอยู่แค่ตัวบุคคลเท่านั้น ควรมีประกันรถยนต์เสริมเข้ามาเพื่อครอบคลุมความเสียหายต่อตัวรถและทรัพย์สิน เวลาเคลมค่ารักษาพยาบาลและค่าสินไหมทดแทนอื่น ๆ จะได้รับชดเชย 2 ต่อระหว่างกรมธรรม์ประกันรถยนต์และ พ.ร.บ.
กรณีผู้ขับขี่ไม่ใช่เจ้าของรถแล้วเกิดอุบัติเหตุ “เบิก พ.ร.บ. ได้” เพราะให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัยบนท้องถนนทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคนขับ ผู้โดยสาร และคู่กรณี มีสิทธิ์เบิกค่ารักษาพยาบาลและชดเชยต่าง ๆ ได้เต็มจำนวนตามจริง
การต่อ พ.ร.บ. รถยนต์คือเรื่องสำคัญที่คนใช้รถมองข้ามไม่ได้ เพราะไม่มีใครคาดเดาได้ว่าอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นกับเราเองและคนใกล้ตัวเมื่อไหร่ ถ้ารู้ตัวว่าใกล้ถึงกำหนดต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ heygoody แนะนำว่าให้รีบจัดการตั้งแน่เนิ่น ๆ จะได้ไม่เสียสิทธิ์การคุ้มครองชีวิตไปแบบฟรี ๆ
ใครกำลังมองหาประกันภัยรถยนต์ตอบโจทย์ทุกความต้องการ พ่วงกับ พ.ร.บ. แบบครบจบ heygoody โบรกเกอร์ประภันภัยออนไลน์ พร้อมให้บริการด้วยกรมธรรม์จากบริษัทชั้นนำของไทยตั้งแต่ชั้น 1-3 รับความคุ้มครอง 2 ต่อทั้งกรมธรรม์และ พ.ร.บ. ผ่อน 0% นานสุด 10 เดือน
ที่มาของข้อมูล : กรมการขนส่งทางบก และ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด