เช็คให้ดีกับข้อกำหนดค้ำประกันรถยนต์กฎหมายใหม่

43 คน
แชร์
ข้อกำหนดค้ำประกันรถยนต์กฎหมายใหม่

ใครกำลังจะค้ำประกันรถยนต์ให้คนอื่น ฟังทางนี้! การค้ำประกันสามารถพลิกชีวิตคนค้ำให้กลายเป็นหนี้แบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว แต่ปัจจุบันมีการแก้กฎหมายการค้ำประกันรถยนต์ เพื่อให้ความเป็นธรรมกับผู้ค้ำประกันมากขึ้น วันนี้ heygoody จะพาไปอัปเดตเกี่ยวกับการค้ำประกันรถยนต์ กฎหมายใหม่ มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง? มาทำความเข้าใจกันสักนิด ก่อนคิดจะเซ็นค้ำประกันให้ใคร!

การค้ำประกันรถยนต์คืออะไร

การค้ำประกันรถยนต์ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อรถผ่านสถาบันการเงิน หรือบริษัทไฟแนนซ์ โดยมี ผู้ค้ำประกัน เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่นใจให้แก่เจ้าหนี้ โดยผู้ค้ำประกันตกลงที่จะรับผิดชอบภาระหนี้แทน ลูกหนี้ หรือผู้กู้ ถ้าผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามสัญญา ไม่ว่าจะเป็นเงินต้น ดอกเบี้ยที่เกิดจากการผิดนัด ซึ่งการมีผู้ค้ำประกันจะทำให้ไฟแนนซ์อนุมัติวงเงินในการซื้อรถได้ง่ายขึ้น

คุณสมบัติคนค้ำประกันรถยนต์

แล้วคนค้ำประกันเป็นใครได้บ้าง? โดยทั่วไปแล้วอาจเป็นญาติ เพื่อน คนรู้จัก หรือนายจ้างของผู้กู้ก็ได้ แต่ต้องมีคุณสมบัติตามนี้

  • ต้องบรรลุนิติภาวะ อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
  • มีอาชีพมั่นคง และมีรายได้เพียงพอที่จะชำระหนี้แทนผู้กู้ได้
  • ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
  • มีที่อยู่อาศัยที่สามารถติดต่อได้
  • ไม่มีประวัติเสียหายทางด้านการเงิน

ข้อกำหนดของผู้ค้ำประกันรถยนต์กฎหมายใหม่

ข้อกำหนดของผู้ค้ำประกันรถยนต์กฎหมายใหม่

กฎหมายผู้ค้ำประกัน ฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ซึ่งได้มีการปรับปรุงหลายประการเพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ค้ำประกันมากขึ้น โดยมีสาระสำคัญดังนี้

ผู้ค้ำประกันจำกัดวงหนี้ได้

เรื่องแรก ความรับผิดของผู้ค้ำประกันกฎหมายใหม่ ผู้ค้ำประกันสามารถจำกัดความรับผิดของตนได้ โดยระบุวงเงินสูงสุดที่จะรับผิดชอบ และกำหนดระยะเวลาในการค้ำประกันให้กับลูกหนี้ได้ โดยต้องเซ็นสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน

ผู้ค้ำประกันไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย

ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดชอบมูลหนี้ทั้งหมดเหมือนกับลูกหนี้ทุกประการอีกต่อไป นั่นหมายความว่า ถ้าลูกหนี้ผิดนัดชำระ ผู้ค้ำประกันจะรับผิดชอบชำระหนี้แทนตามที่ระบุไว้ในสัญญาเท่านั้น ไม่ต้องรับผิดชอบดอกเบี้ย 

หน้าที่ของเจ้าหนี้เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระ

เจ้าหนี้ให้ต้องทำหนังสือแจ้งผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ผิดนัด ภายใน 60 วัน และห้ามเรียกเอาหนี้กับผู้ค้ำประกันในทันที จนกว่าพยายามไล่เบี้ย หรือเรียกหนี้กับลูกหนี้จนถึงที่สุดก่อน ถ้าเจ้าหนี้ละเลยไม่แจ้งผู้ค้ำประกันภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และเกิดดอกเบี้ยจากการผิดนัดชำระ ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดชอบในส่วนของดอกเบี้ยดังกล่าว

ค้ำประกันรถยนต์กฎหมายใหม่ข้อนี้ ช่วยป้องกันการเพิ่มภาระหนี้โดยไม่จำเป็น แถมยังส่งเสริมให้เจ้าหนี้เรียกเก็บหนี้จากลูกหนี้อย่างเต็มที่ก่อนที่จะเรียกร้องจากผู้ค้ำประกัน ซึ่งถือเป็นการสร้างความเป็นธรรมให้กับทุกฝ่ายในระบบการค้ำประกันนั่นเอง

การรับประโยชน์ของผู้ค้ำประกัน

หลังจากที่ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้แล้ว ค้ำประกันรถยนต์กฎหมายใหม่ยังเปิดโอกาสให้ผู้ค้ำประกันสามารถใช้สิทธิฟ้องร้องลูกหนี้ เพื่อเรียกคืนเงินที่ได้จ่ายไปแทน พร้อมทั้งดอกเบี้ยและค่าเสียหายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อีกด้วย ซึ่งถือเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้ค้ำประกันให้ได้รับความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น

การพ้นสภาพเป็นผู้ค้ำประกัน

เป็นผู้ค้ำประกันหนึ่งครั้ง ไม่ต้องเป็นผู้ค้ำไปตลอดชีวิตนะรู้ยัง? เพราะสัญญาค้ำประกันกฎหมายใหม่ เปิดโอกาสให้ผู้ค้ำประกันสามารถพ้นสภาพจากการเป็นคนค้ำประกันได้ในกรณีต่อไปนี้

  • ผู้ค้ำประกันเสียชีวิต และทายาทไม่ประสงค์จะรับภาระค้ำประกันต่อ หนี้สินดังกล่าวจะไม่ตกทอดสู่ทายาทต่อไป
  • มีการแก้ไขสัญญาโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน เช่น ถีงกำหนดเวลาแล้วแต่ลูกหนี้กับเจ้าหนี้ยืดเวลาออกไป เป็นต้น
  • ลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้แล้วผู้ค้ำประกันยินดีชำระหนี้แทน แต่ทางเจ้าหนี้ไม่รับชำระหนี้ จะถือว่าผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากการค้ำประกันในสัญญาเช่นกัน
  • สัญญาการค้ำประกันหมดอายุความ หรือลูกหนี้ชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว โดยอายุความผู้ค้ำประกันรถยนต์ มีระยะเวลา 10 ปี

ค้ำประกันรถให้คนอื่น โดนฟ้องทำไงดี!

ถ้าลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ จนเรื่องราวไปถึงขั้นขึ้นศาลฟ้องร้อง เจ้าหนี้จะฟ้องทั้งลูกหนี้ และผู้ค้ำประกันพร้อมกันในฐานะลูกหนี้ร่วม ให้พิจารณาดังนี้

  • เช็คว่ามีจดหมายมาถึงผู้ค้ำหรือไม่? ถ้าไม่มี ไม่ต้องรับผิด!
  • ถ้ามีจดหมายส่งมา ดูว่าอยู่ในระยะ 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้หรือไม่?
  • ถ้าเกิน 60 วันไปแล้ว ไม่ต้องรับผิด! 

นอกจากนี้ ผู้ค้ำประกันมีสิทธิปฏิเสธ และบ่ายเบี่ยงให้เจ้าหนี้ฟ้องกับลูกหนี้ก่อนได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 690 โดยผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นลูกหนี้ลำดับรอง จะถูกฟ้องก็ต่อเมื่อเจ้าหนี้ยึดทรัพย์ลูกหนี้ไม่ได้ แล้วจึงค่อยมาฟ้องเรียกเอาจากผู้ค้ำประกัน

สิ่งที่ควรทำก่อนคิดค้ำประกันรถยนต์ให้ใคร

ก่อนตัดสินใจค้ำประกันรถยนต์ให้ใคร อย่าเกรงใจเซ็นค้ำประกันให้ใครง่าย ๆ แม้จะเป็นญาติพี่น้อง คนสนิท หรือคนที่ไว้ใจได้ก็ตาม ควรประเมินความสามารถทางการเงินของตนเองและลูกหนี้ ดูให้แน่ใจว่า ลูกหนี้มีทรัพย์สินหรือเงินชำระหนี้ได้ และก่อนจะเซ็นสัญญา ต้องศึกษาเงื่อนไขในสัญญาค้ำประกันอย่างละเอียด ห้ามเซ็นสัญญาที่เขียนว่า “ให้ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดร่วมกับลูกหนี้” เด็ดขาด เพราะอาจนำความเดือดร้อนกลับมาสู่ตนเองและครอบครัวได้

สิ่งที่ควรทำก่อนคิดค้ำประกันรถยนต์ให้ใคร

คิดสักนิด ก่อนคิดเป็นผู้ค้ำประกัน

รายละเอียดการค้ำประกันรถยนต์กฎหมายใหม่ ถือเป็นกฎหมายคุ้มครองผู้ค้ำประกันให้ได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น แต่ยังไงก็ตาม การค้ำประกันรถยนต์ยังคงเป็นภาระทางการเงินที่สำคัญ เหล่ากู๊ดดี้คนไหนที่กำลังพิจารณาจะเป็นผู้ค้ำประกันควรศึกษาข้อกำหนดใหม่อย่างละเอียด และประเมินความเสี่ยงก่อนตัดสินใจ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตัวเองและป้องกันการเกิดปัญหาในอนาคต

สำหรับใครที่อยากซื้อประกันรถยนต์ออนไลน์ เฮ้กู๊ดดี้ จัดให้! มัดรวมแผนประกันสุดคุ้มจากบริษัทประกันชั้นนำมาไว้ที่นี่ มีครบทั้งประกันชั้น 1, 2+, 3+, 2 และ 3 เช็คเบี้ยประกันได้เอง เจอแผนประกันที่ใช่กดซื้อได้ 24 ชม. แถมยังผ่อนสบาย ๆ 0% สูงสุด 10 เดือน สะดวกและคุ้มขนาดนี้ ไม่มีไม่ได้แล้ว!

ที่มา : Krungsri Guru, สำนักงานกฎหมายและคดี และตรินัยน์การทนายความ

แชร์
ไปเลือกประกันรถยนต์กัน!
แค่กรอกข้อมูลง่าย ๆ แล้วให้ heygoody เสนอแผนที่เหมาะกับคุณ
เช็คราคาเบี้ย
ไปเลือกประกันรถยนต์กัน!
แค่กรอกข้อมูลง่าย ๆ แล้วให้ heygoody เสนอแผนที่เหมาะกับคุณ
เช็คราคาเบี้ย
แชร์
แชร์

การันตีด้วยรางวัลความสำเร็จ

Insure Tech Connect Asia
  • Brokerage Breakthrough Awards 2024
  • Data Analytics Master Awards
NEWYORK FESTIVALS
  • รางวัล Bronze หมวดหมู่ Insurance แคมเปญ #heyIntroverts
  • Finalist หมวดหมู่ Film-Non-Broadcast
chevron-down