โรคภัยไข้เจ็บเป็นสิ่งที่เราคาดไม่ถึง ประกันสุขภาพจึงเป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงที่ใครๆ มองหา เหล่ากู๊ดดี้ที่กำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับประกันสุขภาพสงสัยมั้ยว่า ประกันสุขภาพมีแบบไหนบ้าง ประกัน IPD กับ OPD ต่างกันยังไง วันนี้ heygoody จะพาไปรู้จักกันว่า ประกัน IPD คืออะไร คุ้มครองค่ารักษาอะไรบ้าง แตกต่างจากประกัน OPD ยังไง และตอนซื้อประกัน IPD ควรเลือกยังไงให้ตอบโจทย์ที่สุด
ประกัน IPD หรือประกันสุขภาพ IPD คือ ประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองผู้ป่วยใน (In-Patient Department) ที่ต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลหลังการตรวจวินิจฉัยของแพทย์ ตั้งแต่ 6 ชั่วโมงขึ้นไป หรือที่เรียกว่า แอดมิท โดยประกัน IPD จะดูแลค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ค่าห้องพัก ค่าแพทย์ ค่าพยาบาล ค่าอาหาร ค่าเอกซเรย์ ค่าฉายแสง ภายในวงเงินที่กำหนด บางแผนประกันมีค่าชดเชยขาดรายได้ด้วย
อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้ว่า ประกัน IPD ให้ความคุ้มครองเฉพาะผู้ป่วยในที่ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล 6 ชั่วโมงขึ้นไป ต่างจากประกัน OPD หรือประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก (Out-Patient Department) ที่คุ้มครองเฉพาะผู้ป่วยนอกที่มารักษาอาการทั่วไป แค่พบแพทย์ วินิจฉัยโรค และรักษา เช่น ทำแผล ฉีดยา หรือจ่ายยาให้ทาน แล้วเดินทางกลับได้เลย ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
ประกัน IPD ให้ความคุ้มครองค่ารักษาเมื่อต้องอยู่ในโรงพยาบาล 6 ชั่วโมงขึ้นไป ทั้งจากการเจ็บป่วย ผ่าตัด และอุบัติเหตุ เช่น ค่าห้องผู้ป่วยใน ค่าอาหาร ค่าห้อง ICU ค่ารักษาพยาบาล ค่าธรรมเนียมแพทย์ ค่าผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ ค่าผ่าตัดส่องกล้อง เป็นต้น
ถ้าเลือกประกัน IPD ไม่ถูกกับไลฟ์สไตล์และความต้องการ จะสร้างความไม่สะดวกต่อการใช้ชีวิตได้ ถ้าไม่รู้ว่าจะเลือกซื้อประกัน IPD ยังไงดี heygoody มีเทคนิคเลือกประกันมาแนะนำ ดังนี้
ประกัน IPD ทุกตัวไม่ได้มีแผนความคุ้มครองเหมือนกัน ดังนั้นจะเลือกประกัน IPD ทั้งที อย่าลืมตรวจสอบแผนประกันให้ละเอียด คุ้มครองอะไรบ้าง มีรายการไหนจ่ายค่ารักษาตามจริง รายการไหนกำหนดวงเงินค่ารักษา และเบิกค่ารักษาต่อครั้งได้เท่าไหร่
แผนประกันที่คุ้มค่าต้องมาพร้อมเบี้ยประกันที่เหมาะสม สอดคล้องกับงบประมาณที่มี ผู้เอาประกันต้องมั่นใจว่า สามารถจ่ายเบี้ยประกันได้ครบตามสัญญา โดยไม่กระทบการเงินระยะยาว เพราะการหลุดชำระเบี้ยประกันกลางคัน หรือการเวนคืนกรมธรรม์ไม่คุ้มค่าแน่นอน
โรงพยาบาลให้บริการก็เป็นอีกสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ส่วนใหญ่ประกัน IPD ให้ความคุ้มครองทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน ถ้าเป็นโรงพยาบาลในเครือไม่ต้องสำรองจ่าย ดังนั้นแนะนำให้มองหาประกัน IPD ที่มีโรงพยาบาลในเครือเยอะ กระจายอยู่ทั่วประเทศ เพื่อให้มั่นใจว่า ไม่ว่าอยู่ที่ไหน เมื่อเจ็บป่วยขึ้นมา จะสามารถเข้ารับการรักษาได้ง่ายและสะดวก
อย่าลืมตรวจสอบเงื่อนไขการรับประกันและข้อยกเว้นทั่วไปที่ระบุไว้ใต้กรมธรรม์ด้วย เช่น สมัครได้ตั้งแต่อายุเท่าไร อาชีพไหนได้รับการยกเว้นความคุ้มครอง ประกันไม่คุ้มครองโรคไหนบ้าง ซื้อแล้วคุ้มครองทันทีมั้ย มีระยะเวลารอคอยเท่าไร ตรงนี้สำคัญมาก เพราะถ้าผู้เอาประกันเจ็บป่วยในช่วงระยะเวลารอคอย จะไม่สามารถเคลมค่ารักษาพยาบาลได้ ต้องชำระเอง โดยส่วนใหญ่โรคทั่วไปมีระยะเวลารอคอย 30 วัน และโรคร้ายแรง 120 วัน
อย่าลืมตรวจสอบเงื่อนไขการเคลมค่ารักษาพยาบาลว่า ขั้นตอนการเคลบซับซ้อนมั้ย ต้องสำรองจ่ายรึเปล่า ประกัน IPD บางตัวอาจต้องสำรองจ่ายไปก่อน และนำเอกสารมาเคลมกับบริษัทประกันทีหลัง ตรงนี้ผู้เอาประกันต้องมั่นใจว่ามีเงินเย็นไว้สำรองจ่าย ถ้าเงินไม่พออาจเกิดความยุ่งยากได้
ควรเลือกประกัน IPD ที่พร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง เพราะการเจ็บป่วยเป็นสถานการณ์ที่ไม่มีใครรู้ว่าจะเกิดขึ้นตอนไหน ถ้ามีคนคอยให้สอบถามข้อมูลตลอดเวลาจะทำให้เราอุ่นใจมากกว่า และที่สำคัญผู้ขายประกันต้องผ่านการอบรมจากสำนักงาน คปภ. และบริษัทประกันภัยที่มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ
คิดถึงประกันสุขภาพ คิดถึง heygoody เรามีประกัน IPD แบบเหมาจ่าย ให้เลือกถึง 3 แผนประกัน คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลครอบคลุมทั้งเจ็บป่วย ผ่าตัด อุบัติเหตุ ตั้งแต่ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าห้อง ICU ค่ารักษาพยาบาล ค่าธรรมเนียมแพทย์ ค่าผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ ตลอดจนค่าผ่าตัดต่างๆ ไม่ต้องสำรองจ่ายที่โรงพยาบาลเครือข่ายกว่า 600 แห่งทั่วประเทศ สะดวก ครบ จบในที่เดียว
ที่มา : HUGS Insurance, Prakan 4U, Luma Health
การันตีความสำเร็จ จากเวทีระดับโลก
ดูรางวัลทั้งหมด