รวมสัญญาณเตือนอาการโรคไต มีอะไรต้องระวังเป็นพิเศษ

364 คน
แชร์
สัญญาณเตือนอาการโรคไต

โรคไต โรคร้ายใกล้ตัวที่เปรียบเสมือนฆาตกรเงียบ เพราะในช่วงแรกแทบไม่มีสัญญาณเตือนเลย แต่อาการจะแย่ลงทีละนิด รู้ตัวอีกทีก็ตอนที่ไตเสียหายไปพอสมควรแล้ว ดังนั้น การรู้ทันอาการโรคไตจึงเป็นสิ่งสำคัญ วันนี้ heygoody พาไปทำความเข้าใจโรคไตให้มากขึ้น มาเช็คไปพร้อมกันว่า อาการแบบไหน เสี่ยงโรคไตเรื้อรัง!

โรคไตคืออะไร

โรคไต (Kidney disease) คือภาวะที่ไตทำงานผิดปกติ หรือทำงานได้น้อยลง โดยปกติไตจะทำหน้าที่กำจัดของเสียและสารพิษต่าง ๆ ออกจากร่างกาย หลั่งฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือด ควบคุมน้ำและแร่ธาตุในร่างกาย เป็นต้น เมื่อไตทำงานได้น้อยลง จะทำให้ไม่สามารถกำจัดของเสีย หรือสารพิษออกจากร่างกายได้ ส่งผลให้ร่างกายทำงานผิดปกติ

โรคไตมีกี่ระยะ

โรคไตแบ่งเป็น 5 ระยะ ตามค่าการทำงานของไต (GFR) ตามนี้เลย

  • ระยะที่ 1 ไตเริ่มเสื่อม มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ แต่ยังทำงานได้ตามปกติ ค่าการทำงานของไต 90% หรือมากกว่า
  • ระยะที่ 2 ไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น ค่าการทำงานของไตเหลือ 60 - 90%
  • ระยะที่ 3 ไตเรื้อรังระยะปานกลาง ค่าการทำงานของไตเหลือ 30 - 60%
  • ระยะที่ 4 ไตเรื้อรังระยะรุนแรง ค่าการทำงานของไตเหลือ 15 – 30%
  • ระยะที่ 5 ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ค่าการทำงานของไตน้อยกว่า 15%

สัญญาณเตือนอาการโรคไตเริ่มแรก

8 สัญญาณเตือนอาการโรคไตเริ่มแรก

อาการโรคไตเริ่มแรก มีสัญญาณบอกอะไรบ้าง? มาเช็คไปพร้อมกัน

  • ปวดหลังบริเวณใต้ชายโครงข้างกระดูกสันหลัง
  • ปัสสาวะผิดปกติ เช่น ปัสสาวะกลางคืนบ่อย ปัสสาวะมีเลือดปน หรือมีฟองมาก เป็นต้น
  • มีอาการบวมตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น หน้า เท้า หรือตา เป็นต้น
  • เบื่ออาหาร ขมปาก รับรสอาหารไม่ได้
  • น้ำหนักลด หรือเพิ่มขึ้นผิดปกติ
  • มีจ้ำเลือดขึ้นตามตัวง่าย
  • เป็นตะคริวบ่อย
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีแรง

ถ้าสังเกตเห็นความผิดปกติข้างต้น ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียด เพราะถ้าปล่อยไว้ อาการอาจรุนแรงขึ้นจนภาวะไตล้มเหลว หรือที่เรียกกันว่า อาการไตวาย

พฤติกรรมแบบไหนเสี่ยงเป็นโรคไต

พฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่างก็เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคไตมากขึ้นด้วย เช่น

  • ดื่มน้ำน้อย ร่างกายมีภาวะขาดน้ำจนทำให้ไตต้องทำงานหนัก
  • น้ำหนักมาก หรือมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) 30 ขึ้นไป
  • เป็นโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะเบาหวานและความดัน
  • รับประทานอาหารเค็ม อาหารสำเร็จรูป ซึ่งมีโซเดียมสูง
  • ซื้อยารับประทานเอง ทั้งยาแผนปัจจุบัน และยาสมุนไพรบางชนิด ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของไต
  • ออกกำลังกายน้อย ไม่ค่อยขยับเขยื้อนร่างกาย
  • เครียดสะสม พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก

ถ้าเหล่ากู๊ดดี้มีพฤติกรรมตรงกับที่ว่ามานี้ ถือว่ามีความเสี่ยงต่อโรคไตพอสมควรเลย ต้องหันมาปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตให้ดีต่อสุขภาพแล้วนะ

แนวทางการรักษาเมื่อวินิจฉัยแล้วว่าเป็นโรคไต

แนวทางการรักษาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามระยะของโรค ดังนี้

1. การชะลอความเสื่อมของไต

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 1-4 ต้องชะลอความเสื่อมของไต เพื่อไม่ให้ไตเสื่อมลงเร็วกว่าปกติ และยืดระยะเวลาก่อนเข้าสู่โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายให้นานที่สุด การรักษาเพื่อชะลอการเสื่อมของไต มีดังนี้

  • ควบคุมโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดัน หรือเก๊าท์ ให้อยู่ในภาวะปกติ 
  • ปรับเปลี่ยนอาหารการกิน งดอาหารเค็ม และควบคุมปริมาณโปรตีนให้เหมาะสม รวมทั้งควบคุมปริมาณโซเดียมและโพแทสเซียมให้อยู่ระดับปกติ ทั้งนี้ผู้ป่วยแต่ละคนจะมีการจำกัดอาหารไม่เหมือนกัน ต้องปรึกษาแพทย์ที่ดูแลเพิ่มเติม
  • ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • ออกกำลังกายเบา ๆ สม่ำเสมอ เช่น เดิน ว่ายน้ำ หรือปั่นจักรยาน เป็นต้น
  • งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

2. การรักษาด้วยวิธีบำบัดทดแทนไต

ถ้าเข้าสู่อาการไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ผู้ป่วยต้องรักษาด้วยวิธีบำบัดทดแทนไต ซึ่งมีด้วยกัน 3 วิธี ได้แก่

  1. ​​การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) คือการนำเลือดของผู้ป่วยเข้าเครื่องไตเทียมเพื่อกรองของเสียออกจากเลือด จากนั้นนำเลือดที่สะอาดดีแล้ว กลับคืนสู่ร่างกายอีกครั้ง
  2. การล้างไตทางช่องท้อง (Peritoneal Dialysis) คือการใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปในช่องท้อง เพื่อกรองของเสียและของเหลวส่วนเกินออกจากเลือด เมื่อครบเวลาจะปล่อยน้ำยาออกจากช่องท้องผ่านทางสายท่อล้างไต
  3. การปลูกถ่ายไต (Kidney Transplantation) คือการนำไตจากผู้บริจาคไต ซึ่งผ่านการตรวจแล้วว่าเข้ากันได้ มาเปลี่ยนแทนไตเก่าของผู้ป่วยที่สูญเสียถาวรแล้ว ถือเป็นวิธีบำบัดทดแทนไตที่ให้ผลดีที่สุด

ป้องกันอย่างไรให้ไตมีสุขภาพดีแข็งแรง

เราสามารถป้องกันโรคไตได้ด้วยวิธีง่าย ๆ ที่ทำได้ในชีวิตประจำวันเลย นั่นคือ

  • รับประทานทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ วันละ 6 - 8 แก้ว
  • ลดอาหารเค็มจัด หรือแปรรูป
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ขยับร่างกายให้มากขึ้น ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • ตรวจเช็คสุขภาพไตปีละครั้ง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง
  • ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยา
  • จัดการอารมณ์ความเครียดให้ดี ผ่อนคลายบ้าง
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ สุรา และสารเสพติดทุกชนิด

อาการโรคไต

ยิ้มสู้โรคไต ด้วยประกันโรคร้ายแรงจาก heygoody 

ไม่มีใครอยากให้เกิดอาการโรคไตกับตัวเองและคนที่รัก แต่ถ้าเกิดขึ้นแล้ว เรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาก็ถือว่าเป็นภาระที่ไม่น้อยเลย เหล่ากู๊ดดี้ควรมีตัวช่วยรับมือกับความเสี่ยงอย่างประกันโรคร้ายแรง สัญญาความคุ้มครองเพิ่มเติมจากประกันสุขภาพ ที่ให้ความคุ้มครองโรคร้ายแรงทั้งหมด 22 โรค เจอเมื่อไหร่จ่ายทันที ลดภาระทางการเงินในวันที่ต้องเผชิญกับฝันร้าย

อย่าปล่อยให้โรคไตกลายเป็นอุปสรรคในชีวิต เริ่มวางแผนด้วยประกันโรคร้ายแรงตั้งแต่วันนี้ จะได้ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ไร้กังวลไปกับ heygoody 

ที่มา : โรงพยาบาลไทยนครินทร์, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ และ Rama Channel

แชร์
ไปเลือกประกันรถยนต์กัน!
แค่กรอกข้อมูลง่าย ๆ แล้วให้ heygoody เสนอแผนที่เหมาะกับคุณ
เช็คราคาเบี้ย
ไปเลือกประกันรถยนต์กัน!
แค่กรอกข้อมูลง่าย ๆ แล้วให้ heygoody เสนอแผนที่เหมาะกับคุณ
เช็คราคาเบี้ย
แชร์
แชร์

15 รางวัลAward

การันตีความสำเร็จ จากเวทีระดับโลก

ดูรางวัลทั้งหมด
Insure Tech Connect Asia

Insure Tech Connect Asia

Brokerage Breakthrough and Data Analytics Master Awards - 2024

Global Retail Banking Innovation

Global Retail Banking Innovation

Best Customer Centric Business Model - 2024

New York Festivals Awards 2024

New York Festivals Awards 2024

Bronze หมวดหมู่ Insurance - 2024

The Work 2024

The Work 2024

Film/TV Craft · Film/Web Film · Culture · Work for Good · Branded Content + Entertainment - 2024

Thailand Influencer Awards 2024 by Tellscore

Thailand Influencer Awards 2024 by Tellscore

Best Financial & Investment Influencer Campaign - 2024

AdPeople Awards & Symposium 2024

AdPeople Awards & Symposium 2024

Silver หมวดหมู่ Craft · Bronze หมวดหมู่ Craft · Bronze หมวดหมู่ Film
chevron-down