อาหารเป็นพิษเป็นโรคยอดฮิตช่วงหน้าร้อน บางคนอาจแค่มีอาการปวดท้อง หรือท้องเสียเล็กน้อย กินยาสองสามเม็ดก็หาย แต่บางคนอาจมีอาการรุนแรงจนต้องเข้าโรงพยาบาล สิ่งที่กังวลตามมาคือ ค่ารักษาพยาบาลที่อาจสูงเกินคาด โดยเฉพาะถ้าต้องนอนโรงพยาบาลหลายวัน วันนี้ heygoody จะพาเหล่ากู๊ดดี้มาเจาะลึกเรื่องอาหารเป็นพิษ ตั้งแต่สาเหตุ อาการ การรักษา และตอบคำข้อสงสัยที่ว่า ท้องเสียค่ารักษากี่บาท ท้องเสียจากอาหารเป็นพิษ นอนโรงพยาบาลต้องจ่ายแพงไหม
อาหารเป็นพิษ (Food Poisoning) คือ โรคที่เกิดจากการกินอาหาร หรือเครื่องดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น เชื้อซัลโมเนลลา อีโคไล หรือโนโรไวรัส นอกจากนี้ การกินอาหารที่ปรุงไม่สุก อาหารค้างคืน หรืออาหารที่เก็บรักษาไม่ถูกสุขลักษณะ ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้เช่นกัน
ซึ่งเชื้อโรคเหล่านี้ จะทำให้มีอาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และบางกรณีอาจมีไข้ร่วมด้วย อาการมักเกิดขึ้นภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังกินอาหารที่ปนเปื้อน
อาการทั่วไปของอาหารเป็นพิษ ได้แก่
อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นตั้งแต่ไม่กี่ชั่วโมงไปจนถึงหลายวันหลังกินอาหารที่ปนเปื้อน ความรุนแรงของอาการจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อหรือสารพิษ ปริมาณที่ได้รับ และสภาพร่างกายของแต่ละคน คนที่ท้องเสียง่ายอยู่แล้ว หรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว อาจมีอาการรุนแรงกว่าคนทั่วไป
ท้องเสียเกิน 6 ครั้งต่อวัน และมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้สูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส อาเจียนต่อเนื่องจนไม่สามารถดื่มน้ำหรือกินยาได้ ปวดท้องรุนแรง มีเลือดหรือมูกในอุจจาระ หรือมีสัญญาณของร่างกายขาดน้ำ เช่น ปัสสาวะน้อยลงหรือมีสีเข้ม สับสน อ่อนเพลียมาก หน้ามืด ควรรีบไปพบคุณหมอให้เร็วที่สุด
ท้องเสียค่ารักษาพยาบาลแตกต่างกันไปตามความรุนแรงของอาการ ประเภทของโรงพยาบาล และสิทธิการรักษาที่เหล่ากู๊ดดี้มี
ถ้ามีอาการไม่รุนแรงและเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก (OPD) ที่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายจะประกอบด้วย ค่าตรวจรักษากับแพทย์ประมาณ 300-500 บาท และค่ายารักษาอาการเบื้องต้น เช่น ยาแก้ท้องเสีย ยาลดการบีบตัวของลำไส้ ยาฆ่าเชื้อ (ในบางกรณี) และผงน้ำตาลเกลือแร่ รวมประมาณ 500-1,000 บาท รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นประมาณ 800-1,500 บาท สำหรับโรงพยาบาลรัฐ แต่ถ้าเป็นโรงพยาบาลเอกชนค่าใช้จ่ายก็จะสูงตามไปด้วย
แต่ถ้าอาการรุนแรง ท้องเสียเรื้อรังจนต้องนอนโรงพยาบาล (IPD) ค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะถ้าต้องรักษาในโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งอาจสูงถึงประมาณ 10,000-20,000 บาทต่อคืน หรือมากกว่านั้น ยังไงก็ตาม คนที่มีสิทธิการรักษาพยาบาล เช่น สิทธิประกันสังคม สิทธิบัตรทอง (30 บาท) หรือสิทธิข้าราชการ สามารถใช้สิทธิเหล่านี้ในการลดภาระค่าใช้จ่ายได้ ถ้าเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่อยู่ในเครือข่ายตามสิทธิ ค่าใช้จ่ายจะลดลงอย่างมาก หรืออาจจะไม่มีค่าใช้จ่ายเลย (ยกเว้นกรณีที่ต้องการยาหรือการรักษาที่นอกเหนือจากสิทธิ)
นอกจากนี้ คนที่มีประกันสุขภาพส่วนบุคคล หรือประกันกลุ่มจากบริษัท ก็สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ ซึ่งอาจเป็นการเบิกแบบสำรองจ่ายไปก่อนแล้วเคลมภายหลัง หรือบางกรณีสามารถใช้บริการจ่ายตรงได้โดยไม่ต้องสำรองจ่าย ถ้าโรงพยาบาลนั้นมีข้อตกลงกับบริษัทประกัน
ถ้าท้องเสียจนไม่สามารถไปทำงาน หรือเรียนได้ และยังมีอาการอยู่ สามารถเข้ารับการตรวจและขอใบรับรองแพทย์ได้ โดยเมื่อเข้ารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล หรือคลินิก สามารถแจ้งความประสงค์กับคุณหมอ หรือพยาบาลว่าต้องการใบรับรองแพทย์ได้เลย ซึ่งคุณหมอจะพิจารณาออกใบรับรองให้ตามจริง โดยระบุอาการเจ็บป่วย การวินิจฉัย และจำนวนวันที่แนะนำให้พักฟื้น
แต่ถ้าอาการดีขึ้นแล้ว แล้วมาพบคุณหมอทีหลังเพื่อขอใบรับรองแพทย์ กรณีนี้จะไม่สามารถขอใบรับรองแพทย์ย้อนหลังได้ เพราะไม่มีประวัติการเจ็บป่วย หรือประวัติการรักษา
ในกรณีที่อาการไม่รุนแรงสามารถการดูแลตนเองเพื่อบรรเทาอาการได้ โดยเหล่ากู๊ดดี้สามารถทำตามนี้ได้เลย
อาการท้องเสียและอาหารเป็นพิษสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และถ้าอาการหนักจนถึงขั้นตอนเข้าโรงพยาบาล บอกเลยว่า ค่าใช้จ่ายก็ไม่ใช่น้อย ๆ การทำประกันสุขภาพและประกันโรคร้ายแรงจึงเป็นตัวช่วยสำคัญที่ลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ทำให้เหล่ากู๊ดดี้สามารถเข้าถึงการรักษาที่จำเป็นได้อย่างทันท่วงที โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะรักษาที่โรงพยาบาลรัฐหรือเอกชน มาวางแผนและเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพตั้งแต่วันนี้ เพื่อใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและมั่นใจยิ่งขึ้น!
ที่มา : โรงพยาบาลวิภาวดี