เปิดลิสต์ค่ารักษาพยาบาลแต่ละโรค เมื่อต้องนอนโรงพยาบาล

893 คน
แชร์
ค่ารักษาพยาบาลแต่ละโรค เมื่อต้องนอนโรงพยาบาล

ในปัจจุบัน สถิติการเสียชีวิตของคนไทยจากโรคร้ายแรงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต นอกจากความรุนแรงของโรคแล้ว เรื่องค่ารักษาพยาบาลก็เป็นอีกเรื่องที่สร้างความเครียดไม่แพ้กัน ยิ่งถ้าต้องรักษาด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ ก็มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่สูง heygoody จะพาไปดูค่ารักษาพยาบาลแต่ละโรคเมื่อต้องนอนโรงพยาบาลเอกชนจะต้องใช้เงินเท่าไร ตามไปหาคำตอบพร้อมกันได้เลย

ค่ารักษาพยาบาล กลุ่มโรคทั่วไป

ค่ารักษาพยาบาลกลุ่มโรคทั่วไปมีค่าใช้จ่ายสูง โดยเฉพาะการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน มาดูข้อมูลค่าใช้จ่ายกลุ่มโรคทั่วไปที่พบได้บ่อย ๆ กัน

โรคไข้หวัดใหญ่ 

โรคทั่วไปที่เป็นกันบ่อยคือ โรคไข้หวัดใหญ่ รักษาเองได้ที่บ้าน แต่สำหรับบางคนอาจมีอาการรุนแรง เช่น ไข้สูง ไอหนัก หรือหลอดลมอักเสบ อาจต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลในความดูแลของแพทย์ และรับยาฆ่าเชื้อผ่านสายน้ำเกลือ โดยส่วนใหญ่จะแอดมิทประมาณ 3-5 วัน และมีค่ารักษาพยาบาล เริ่มต้น 46,000 - 72,000 บาท

โรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคยอดนิยม พบบ่อยในช่วงหน้าฝน ต้องติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง และต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 3 วัน ทำให้มีค่ารักษาพยาบาลค่อนข้างสูง รายละเอียดค่ารักษาในโรงพยาบาลเอกชน มีดังต่อไปนี้

  • ยาผู้ป่วยกลับบ้าน เริ่มต้น 150 บาท
  • ยาผู้ป่วยใน เริ่มต้น 1,100 บาท
  • ค่าน้ำเกลือ เริ่มต้น 4,900 บาท
  • ค่ายาฉีด เริ่มต้น 11,200 บาท
  • ค่าบริการพยาบาลผู้ป่วยในทั่วไป เริ่มต้น 5,400 บาท
  • ค่าบริการโรงพยาบาล กรณีผู้ป่วยใน เริ่มต้น 1,800 บาท
  • เวชภัณฑ์ เริ่มต้น 5,220 บาท
  • ค่าห้องปฏิบัติการ เริ่มต้น 4,930 บาท
  • ค่าเอกซเรย์ เริ่มต้น 800 บาท
  • อุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์นอกห้องผ่าตัด เริ่มต้น 1,500 บาท
  • ตรวจรักษากรณีผู้ป่วยนอก เริ่มต้น 500 บาท
  • ค่าตรวจรักษากรณีผู้ป่วยในครั้งแรก เริ่มต้น 1,300 บาท
  • ค่าตรวจรักษากรณีผู้ป่วยใน เมื่อจำหน่ายผู้ป่วยและสรุปเวชระเบียน เริ่มต้น 200 บาท
  • ค่าห้อง ค่าเตียง และอุปกรณ์มาตรฐานประจำห้องผู้ป่วยใน เริ่มต้น 6,100 บาท
  • ค่าอาหารผู้ป่วย เริ่มต้น 1,450 บาท

รวมทั้งหมด ราคาประมาณ 49,000 บาท

ค่ารักษาโรคไข้เลือดออกข้างต้น เป็นตัวอย่างถ้าต้องเข้าพักรักษาเป็นเวลา 3 วัน อาจแตกต่างกันไปตามดุลพินิจของแพทย์และความรุนแรงของอาการ

โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่ถ้าไม่ได้รับการรักษา หรือปล่อยทิ้งไว้นาน จะทำให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะหลายส่วนในร่างกาย จนเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ รวมถึงอัมพาต ลุกลามไปจนเสียชีวิตได้ ซึ่งค่ารักษาพยาบาลของโรคความดันโลหิตสูงกรณีนอนโรงพยาบาลเอกชน เริ่มต้น 25,000 - 120,000 บาท

โรคกระเพาะอาหาร

ต่อมาเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารที่พบบ่อยอย่าง โรคกระเพาะอาหาร ต้องรับการรักษาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง ปล่อยไว้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนหลายอย่าง ทั้งเลือดออกในกระเพาะอาหาร และกระเพาะลำไส้เป็นแผลทะลุได้ โดยค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน ค่าใช้จ่ายเริ่มต้น 50,000 - 150,000 บาท

ภาวะตัดไส้ติ่งอักเสบ

กลุ่มโรคทั่วไปโรคสุดท้ายเป็น ภาวะตัดไส้ติ่งอักเสบ รักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง ให้แผลผ่าตัดเล็ก เจ็บน้อย และพักฟื้นไว โดยค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน ค่าใช้จ่ายเริ่มต้น 100,000 - 150,000 บาท

สรุปค่ารักษาพยาบาลที่คนไทยเป็นบ่อย

ค่ารักษาพยาบาล กลุ่มโรคร้ายแรง

หลังจากได้รู้ค่ารักษาพยาบาลกลุ่มโรคทั่วไปแล้ว ต่อมาเป็นค่ารักษาพยาบาลกลุ่มโรคร้ายแรง ส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการ มาดูกันว่าค่ารักษาพยาบาลกลุ่มโรคร้ายแรงมีราคาเท่าไรกันบ้าง

โรคมะเร็ง

สาเหตุการเสียชีวิตของคนจำนวนมาก ว่ากันตามสถิติแล้วผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งของคนไทยในปี พ.ศ. 2561 มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่จำนวน 112,392 คนต่อปี ค่าใช้จ่ายเริ่มต้นคือ 300,000 - 8,000,000 บาท

โรคเกี่ยวกับหัวใจ

ภัยใกล้ตัวอีกอย่างที่จัดอยู่ในกลุ่มโรคเกี่ยวกับหัวใจคือ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรง จากสถิติพบว่าในปี พ.ศ. 2560 คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคนี้จำนวน 24,597 คนต่อปี จัดเป็นโรคร้ายที่มีค่ารักษาเริ่มต้นสูงประมาณ 660,000 บาท โดยค่าใช้จ่ายทั้งหมด ตั้งแต่ ค่าตรวจโรค ค่ารักษาทางยา การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ การจี้กล้ามเนื้อหัวใจ ค่าใช้จ่ายเริ่มต้นประมาณ 200,000 - 700,000 บาท

โรคปอด

โรคปอดเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับคนสูบบุหรี่เป็นประจำ มีค่ารักษาพยาบาลสูง ทั้งค่าตรวจ ค่าผ่าตัด และค่ารักษาทางยา เริ่มต้นประมาณ 365,000 บาท 

โรคตับ

โรคตับ เป็นอีกหนึ่งโรคที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป รวมทั้งโรคอ้วน และไวรัสตับอักเสบ โดยค่าผ่าตัดตับข้างซ้ายมีราคาเริ่มต้น 700,000 บาท ค่าผ่าตัดตับข้างขวา ราคาเริ่มต้น 800,000 บาท และการผ่าตัดตับบางส่วนด้วยการผ่าตัดผ่านกล้องมีราคาเริ่มต้น 680,000 บาท

โรคเบาหวาน

ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าปกติ เป็นผลมาจากการทำงานของอินซูลินมีประสิทธิภาพลดลง มีค่ารักษาเริ่มต้น 28,200 บาทต่อปี

ภาวะไตวายเรื้อรัง

สำหรับภาวะไตวายเรื้อรังถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลเกิดภาวะไตวาย โดยมีค่าฟอกเลือดครั้งแรก 3,400 บาท ครั้งต่อไป ครั้งละ 2,200 บาท และค่าฟอกเลือด (ICU) ครั้งละ 4,700 บาท ถ้าฟอกเลือดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 2,200 บาท ต้องจ่ายเดือนละ 8,800 บาท เป็นราคาที่ยังไม่รวมค่ายาและค่าตรวจรักษาเพิ่มเติม

ภาวะหลอดเลือดสมองตีบ

โรคสุดท้ายในกลุ่มโรคร้ายแรง คือ ภาวะหลอดเลือดสมองตีบ เป็นโรคที่อันตรายมาก และมีค่ารักษาพยาบาลเริ่มต้นที่ 110,000 - 800,000 บาท

ทำประกันกับ heygoody พร้อมดูแลทันที ไม่ต้องตรวจสุขภาพ

ทำประกันกับ heygoody พร้อมดูแลทันที ไม่ต้องตรวจสุขภาพ

สุดท้ายนี้ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มโรคทั่วไป หรือกลุ่มโรคร้ายแรง ถ้ารักษาที่โรงพยาบาลเอกชนล้วนมีค่ารักษาพยาบาลที่ค่อนข้างสูง การทำประกันสุขภาพจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยมอบความคุ้มครองในเรื่องของค่ารักษา และสร้างความอุ่นใจให้เหล่ากู๊ดดี้ได้ ใครต้องการประกันสุขภาพรายปีราคาถูก วงเงินสูง คุ้มครองแบบ ครบ จบ heygoody คัดสรรกรมธรรม์จากบริษัทชั้นนำมาให้แล้ว เลือกแผนได้ตามต้องการ เช็คเบี้ยประกันด้วยตัวเองง่าย ๆ

ที่มา :ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข, AIA Planner

แชร์
ไปเลือกประกันรถยนต์กัน!
แค่กรอกข้อมูลง่าย ๆ แล้วให้ heygoody เสนอแผนที่เหมาะกับคุณ
เช็คราคาเบี้ย
ไปเลือกประกันรถยนต์กัน!
แค่กรอกข้อมูลง่าย ๆ แล้วให้ heygoody เสนอแผนที่เหมาะกับคุณ
เช็คราคาเบี้ย
แชร์
แชร์

12 รางวัลAward

การันตีความสำเร็จ จากเวทีระดับโลก

ดูรางวัลทั้งหมด
Insure Tech Connect Asia

Insure Tech Connect Asia

Brokerage Breakthrough and Data Analytics Master Awards - 2024

Global Retail Banking Innovation

Global Retail Banking Innovation

Best Customer Centric Business Model - 2024

New York Festivals Awards 2024

New York Festivals Awards 2024

Bronze หมวดหมู่ Insurance - 2024

The Work 2024

The Work 2024

Film/TV Craft · Film/Web Film · Culture · Work for Good · Branded Content + Entertainment - 2024

Thailand Influencer Awards 2024 by Tellscore

Thailand Influencer Awards 2024 by Tellscore

Best Financial & Investment Influencer Campaign - 2024

chevron-down