พ่อแม่ต้องระวัง 8 อุบัติเหตุในเด็กเกิดขึ้นได้ที่บ้าน

243 คน
แชร์
8 อุบัติเหตุในเด็กเกิดขึ้นได้ที่บ้าน

วัยเด็กเป็นวัยของการเรียนรู้ แต่บางครั้งความอยากรู้ อยากเห็นของเจ้าตัวน้อย อาจนำไปสู่อุบัติเหตุได้ บทความนี้ heygoody เลยมัดรวม 8 อุบัติเหตุในเด็กที่เกิดขึ้นบ่อย พร้อมวิธีป้องกัน เพื่อให้เหล่ากู๊ดดี้ที่เป็นคุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้ปกครองได้เฝ้าระวัง และรับมือกับอุบัติเหตุในบ้านที่อาจเกิดขึ้นกับน้อง ๆ ได้

อุบัติเหตุสำหรับเด็กที่พบในบ้านได้บ่อย ๆ

อุบัติเหตุสำหรับเด็กที่พบในบ้าน

อุบัติเหตุ อุบัติภัยในบ้านที่พบได้บ่อยสำหรับเด็กมีอะไรบ้าง? สรุปมาให้แล้วตามนี้เลย

1. การจมน้ำ

การจมน้ำ อุบัติเหตุในเด็กอันดับต้น ๆ ของเด็กไทย สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากความสามารถในการทรงตัวยังไม่ค่อยดีนัก โดยเฉพาะเด็กเล็ก ทำให้หกล้มศีรษะทิ่มลงน้ำได้ ส่วนในเด็กโต หรือวัยรุ่น มักเกิดจากการว่ายน้ำไม่แข็ง หรือไม่ใส่ชูชีพขณะเล่นน้ำนั่นเอง

วิธีป้องกันการจมน้ำ

  • ไม่ปล่อยเด็กไว้ใกล้แหล่งน้ำตามลำพัง
  • สอนให้เด็กว่ายน้ำเป็น
  • ใช้ชูชีพ หรืออุปกรณ์ลอยน้ำ กรณีว่ายน้ำไม่เป็น
  • ไม่ให้เด็กเล่นในแหล่งน้ำที่ไม่คุ้นชิน แหล่งน้ำที่ลึก หรือมีน้ำไหลเชี่ยว

2. ตกจากที่สูง

อุบัติเหตุเด็กตกจากที่สูง เกิดขึ้นกับเด็กทุกช่วงวัย โดยเฉพาะเด็กวัยทารกถึง 1 ขวบ ที่เริ่มขยับแข้งขา เคลื่อนที่เองได้แล้ว มักจะคลานไปที่ต่าง ๆ จนพลัดตกเตียง ส่วนเด็กโตจะมีความซนและคึกคะนอง มักปีนป่ายตามจุดต่าง ๆ หรือแม้แต่ราวบันไดบ้าน แขนขาที่กำลังไม่มากพออาจทำให้พลัดตกลงจากโต๊ะ เตียง หรือบันไดได้ง่าย บางคนแค่ฟกช้ำ แต่บางคนอาจจะถึงขั้นกระดูกหักได้เลย

วิธีป้องกันการตกจากที่สูง

  • ไม่ให้เด็กอยู่ลำพังในสถานที่เสี่ยง
  • ติดตั้งที่กั้น หรือคอกกั้นเตียงสำหรับเด็กเล็ก
  • ไม่จัดโต๊ะ เก้าอี้ ในจุดเด็กสามารถปีนป่ายได้ง่าย

3. อุบัติเหตุจากของเล่น

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า ของเล่นที่ช่วยให้ลูกน้อยฝึกทักษะ และสนุกสนาน เพลิดเพลิน เป็นตัวการทำร้ายเด็ก ๆ ซะเอง เช่น ของเล่นลักษณะแหลมคม ของเล่นที่มีสายยาว ของเล่นที่ทำจากวัสดุเคลือบสารเคมี หรือของเล่นที่มีช่องรู ก็อาจทำให้นิ้วติด มือติด หรือหัวติดได้

วิธีป้องกันอุบัติเหตุจากของเล่น

  • เลือกของเล่นที่ได้การรับรองมาตรฐานจาก มอก. และปลอดสาร BPA
  • เลือกของเล่นให้เหมาะกับช่วงวัย
  • ไม่เลือกของเล่นที่มีชิ้นส่วนเล็ก ๆ เพราะเด็กอาจกลืนลงไปได้
  • ไม่เลือกของเล่นที่ไม่แข็งแรง เสี่ยงต่อการแตกหักง่าย

4. การนอนคว่ำนาน ๆ

เชื่อกันว่า การให้เด็กนอนคว่ำจะทำให้หัวทุยสวย แต่ถ้านอนคว่ำนาน ๆ อาจทำให้เด็กหายใจไม่สะดวก และหยุดหายใจขณะหลับได้ ดังนั้นถ้าคุณพ่อคุณแม่กังวลเรื่องหัวลูกจะไม่สวย สามารถให้ลูกนอนหงายสลับกับนอนตะแคงซ้ายขวาไปมา หรือให้นอนคว่ำแบบนอนเล่นๆ ตอนที่ลูกตื่นอยู่จะดีที่สุด

วิธีป้องกันอุบัติเหตุจากการนอนคว่ำ

  • ขณะที่ลูกนอนคว่ำ ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด
  • ให้นอนหงายสลับกับนอนตะแคงซ้ายขวาไปมาแทน
  • นอนคว่ำในช่วงที่เด็กตื่นนอน เพื่อฝึกกล้ามเนื้อคอ กล้ามเนื้อไหล่ และกล้ามเนื้อหลัง

5. โดนไฟดูด

เด็ก ๆ เป็นวัยอยากรู้ อยากลอง เห็นอะไรก็อยากจับ อยากทัชไปเสียหมด บางครั้งจึงเผลอแหย่นิ้วลงในรูปลั๊กไฟจนทำให้ไฟดูดได้ หรือแม้แต่น้อง ๆ เด็กโตที่เริ่มใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นแล้ว ก็อาจใช้งานที่ผิดวิธี จนนำไปสู่ปัญหาไฟดูดได้ ดังนั้นเหล่าคุณพ่อคุณแม่ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะไฟดูดอาจทำให้น้อง ๆ หมดสติ หรือเสียชีวิตได้เลย

วิธีป้องกันไฟดูด

  • ติดตั้งอุปกรณ์ครอบปลั๊กไฟ
  • ตรวจสอบปลั๊กไฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่เสมอ ถ้าชำรุด หรือเสื่อมสภาพไม่ควรฝืนใช้ต่อ
  • เก็บอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สายไฟให้พ้นมือเด็ก
  • ไม่วางรางปลั๊กไฟไว้ที่พื้น หรือในจุดที่เด็กเข้าถึงง่าย
  • เดินสายดิน และติดตั้งอุปกรณ์กันไฟรั่วทั่วบ้าน
  • สำหรับเด็กโตควรสอนวิธีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าให้ถูกวิธี

6. รถพยุงตัวล้ม

รถพยุงตัว ไอเทมที่หลายบ้านนิยมใช้ แต่ดูเหมือนอันตรายจะมากกว่าประโยชน์ เพราะบางครั้งรถอาจล้มพลิกคว่ำบนพื้นต่างระดับ รถไถลตกลงมาจากบันได หรือไถลลื่นไปตกน้ำได้ ซึ่งปัจจุบันสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคให้เรียกว่า รถพยุงตัว และให้กำกับบนฉลากไว้ว่า ไม่ช่วยในการหัดเดิน มีอันตรายถึงชีวิต ผู้ดูแลต้องดูแลใกล้ชิดเมื่อเด็ก ๆ ใช้ผลิตภัณฑ์นี้

วิธีป้องกันรถพยุงตัวล้ม

  • ไม่ใช้รถพยุงตัว หรือคอยดูแลใกล้ชิดขณะลูกใช้รถพยุงตัว

7. การอุ้มเด็กไม่ถูกวิธี

การอุ้มเด็กไม่ถูกวิธี เช่น อุ้มแบบไม่ประคองหลัง อุ้มในท่าที่คอพับ หรือหงายเกินไป อุ้มเขย่า หรืออุ้มโยน อาจส่งผลต่อพัฒนาการของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อหลังอักเสบ ไปจนถึงเลือดออกในสมองได้

วิธีป้องกันอุบัติเหตุจากการอุ้มเด็กไม่ถูกวิธี

  • ทารกวัยแรกเกิด ถึง 6 เดือน ต้องอุ้มประคองคอและหลังตลอดเวลา
  • อุ้มเด็กให้อยู่ระดับหัวไหล่และใช้แขนรองก้นเสมอ
  • ไม่อุ้มเขย่าหรืออุ้มโยน เพื่อป้องกันเลือดออกในสมอง และร่วงหลุดมือ
  • วัย 6 เดือนขึ้นไป ไม่ควรอุ้มตลอดเวลา ให้ลูกได้นั่งบ่อย ๆ ตามพัฒนาการของช่วงวัย

8. การเขย่าตัวเด็ก

บ้านไหนชอบเขย่าตัวเด็กแรง ๆ ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม รู้มั้ยว่า พฤติกรรมนี้เป็นสาเหตุให้เส้นประสาทในสมองของเด็กฉีกขาด และเกิดเลือดออกในสมอง หรือจอประสาทตา ซึ่งอาจร้ายแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้เลย ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรระวังกันด้วยนะ 

วิธีป้องกันอุบัติเหตุจากการเขย่าตัวเด็ก

  • เวลาเล่นกับเด็ก ให้ระวังอย่าเขย่าเด็ก อย่าโยน และอย่าเหวี่ยงเด็กไปมา
  • แจ้งคนใกล้ตัว ทั้งปู่ ย่า ตา ยาย เพื่อนพ่อ และเพื่อนแม่ ให้รู้ถึงผลเสีย

อุบัติเหตุในเด็ก

ลูกน้อยเล่นสนุก พ่อแม่อุ่นใจ ด้วยประกันอุบัติเหตุจาก heygoody

แม้เฝ้าระวังลูกน้อยแค่ไหน แต่อุบัติเหตุก็เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ heygoody แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่เตรียมรับมือกับอุบัติเหตุไม่คาดฝันด้วย ประกันอุบัติเหตุ จาก heygoody ตัวช่วยที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลตั้งแต่เรื่องเล็ก ๆ ไปจนเรื่องใหญ่ ไม่ว่าลูกตกจากที่สูง โดนไฟดูด จมน้ำ รถของเล่นล้มจนฟกช้ำ หรือถึงขั้นเลือดตกยางออก ประกันอุบัติเหตุก็พร้อมดูแล ให้ลูกรักได้เล่นสนุกเต็มที่ ส่วนเรื่องไม่คาดฝันให้เป็นหน้าที่ของเรา

ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และ Tune Protect

แชร์
ไปเลือกประกันรถยนต์กัน!
แค่กรอกข้อมูลง่าย ๆ แล้วให้ heygoody เสนอแผนที่เหมาะกับคุณ
เช็คราคาเบี้ย
ไปเลือกประกันรถยนต์กัน!
แค่กรอกข้อมูลง่าย ๆ แล้วให้ heygoody เสนอแผนที่เหมาะกับคุณ
เช็คราคาเบี้ย
แชร์
แชร์

12 รางวัลAward

การันตีความสำเร็จ จากเวทีระดับโลก

ดูรางวัลทั้งหมด
Insure Tech Connect Asia

Insure Tech Connect Asia

Brokerage Breakthrough and Data Analytics Master Awards - 2024

Global Retail Banking Innovation

Global Retail Banking Innovation

Best Customer Centric Business Model - 2024

New York Festivals Awards 2024

New York Festivals Awards 2024

Bronze หมวดหมู่ Insurance - 2024

The Work 2024

The Work 2024

Film/TV Craft · Film/Web Film · Culture · Work for Good · Branded Content + Entertainment - 2024

Thailand Influencer Awards 2024 by Tellscore

Thailand Influencer Awards 2024 by Tellscore

Best Financial & Investment Influencer Campaign - 2024

chevron-down