หน้าหลัก
สาระประกันดี
บทความไลฟ์สไตล์

ส่องมาตรการของเหลวขึ้นเครื่อง เตรียมพร้อมยังไงบ้าง

26 คน
แชร์
มาตรการของเหลวขึ้นเครื่อง

ใครมีแพลนบินเร็ว ๆ นี้ สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ การนำของเหลวขึ้นเครื่อง เพราะมีกฎระเบียบที่เข้มงวดเกี่ยวกับปริมาณและวิธีการบรรจุ วันนี้ heygoody สรุปกฎการนำของเหลวขึ้นเครื่องมาให้ครบทุกประเด็น ไม่ว่าจะเป็น เอาของเหลวขึ้นเครื่องได้เท่าไหร่? เอาครีมขึ้นเครื่องได้ไหม? เช็คข้อมูลก่อนเตรียมบินได้ที่นี่เลย!

ทำไมต้องมีมาตรการของเหลวขึ้นเครื่อง

มาตรการของเหลวขึ้นเครื่อง มีไว้เพื่อความปลอดภัยของทุกคนบนเครื่องบิน โดยจุดเริ่มต้นมาจาก ในปี 2006 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมกลุ่มก่อการร้ายที่นำของเหลวซึ่งเป็นสารประกอบระเบิดลักลอบขึ้นเครื่องบินที่อังกฤษ หลังจากเหตุการณ์นี้ International Civil Aviation Organization (ICAO) หรือองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ จึงออกกฎของเหลวขึ้นเครื่องบินอย่างเข้มงวด ซึ่งเป็นข้อบังคับใช้ในสนามบินทั่วโลก ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2007 เป็นต้นมา

ของเหลวขึ้นเครื่องคืออะไร มีกี่ประเภท

ของเหลวขึ้นเครื่อง คือของเหลวที่ถูกควบคุมในการนำขึ้นเครื่องบิน ไม่ได้จำกัดเฉพาะน้ำ หรือเครื่องดื่มเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสารที่มีลักษณะเป็นของเหลว เจล หรือกึ่งของเหลวทุกชนิด ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นหลายประเภท ดังนี้

  • อาหารที่มีของเหลวเป็นองค์ประกอบ : น้ำเปล่า เครื่องดื่มต่าง ๆ ซุป ซอส น้ำเชื่อม หรืออาหารที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบ
  • สิ่งของที่เป็นเจล : ยาสีฟัน ยาสระผม เจลแต่งทรงผม
  • วัตถุที่ต้องฉีดพ่น : สเปรย์ โฟม 
  • เครื่องสำอาง : ครีม สบู่เหลว โลชั่นบำรุงผิว น้ำหอม ครีมกันแดด 
  • สิ่งของที่ส่วนผสมเป็นของแข็งและของเหลว : ลิปสติกชนิดน้ำ มาสคาร่า ลิปกลอส

ของเหลวขึ้นเครื่องบินได้เท่าไหร่

ของเหลวขึ้นเครื่องบินได้เท่าไหร่

การนำของเหลวขึ้นเครื่องบินมีกฎระเบียบที่ชัดเจนและเข้มงวดสุด ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางทางอากาศ heygoody สรุปมาตรการของเหลวขึ้นเครื่องมาให้แล้ว ตามนี้เลย

1. ของเหลวขึ้นเครื่องต้องมีปริมาณไม่เกิน 100 มิลลิลิตร (100 ml.)

ของเหลวขึ้นเครื่องกี่ ml.? ของเหลวแต่ละชิ้นที่นำขึ้นเครื่องต้องมีปริมาณไม่เกิน 100 มิลลิลิตร ไม่ว่าจะเป็นน้ำหอม โลชั่น เจลล้างมือ หรือเครื่องสำอางต่าง ๆ ทั้งหมดต้องอยู่ในบรรจุภัณฑ์ขนาดไม่เกิน 100 มิลลิลิตร เพราะปริมาณ 100 มิลลิลิตร เป็นปริมาณที่น้อยมาก ไม่สามารถนำมาทำสารเคมี หรือใช้เป็นส่วนประกอบของระเบิดได้

แต่ถ้าใครมีของเหลวปริมาณเยอะกว่านี้ ไม่ต้องซื้อใหม่ สามารถแบ่งใส่ขวดเล็ก ๆ หรือถุงใสที่ระบุขนาดไม่เกิน 100 มิลลิลิตรได้ เพราะจุดตรวจจะให้ความสำคัญกับบรรจุภัณฑ์เป็นหลัก ทำตามนี้รับรองผ่านจุดตรวจค้นราบรื่น!

2. ของเหลวทุกชนิดรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 1000 มิลลิลิตร (1000 ml.)

แม้ว่าแต่ละชิ้นจะต้องมีขนาดไม่เกิน 100 มิลลิลิตร แต่ปริมาณรวมของของเหลวทั้งหมดที่นำขึ้นเครื่องต้องไม่เกิน 1 ลิตร หรือ 1000 มิลลิลิตรนะ นั่นหมายความว่า เหล่ากู๊ดดี้สามารถนำของเหลวขนาด 100 มิลลิลิตร ขึ้นเครื่องได้สูงสุด 10 ชิ้น หรือถ้าบางชิ้นมีขนาดเล็กกว่า ก็อาจนำขึ้นได้มากกว่า 10 ชิ้น ตราบใดที่ปริมาณรวมไม่เกิน 1 ลิตร ก็ผ่านฉลุย!

3. ของเหลวขึ้นเครื่องทั้งหมดควรบรรจุในถุงพลาสติกใส

เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบ ของเหลวขึ้นเครื่องทั้งหมดควรบรรจุในถุงพลาสติกใส ขนาดไม่เกิน 20 x 20 ซม. ซึ่งถุงต้องปิดได้สนิท ต้องใสพอที่จะมองเห็นสิ่งของภายในได้ชัดเจน และต้องแยกออกจากกระเป๋าหรือสัมภาระอื่น ๆ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบของเหลวทั้งหมดได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องเปิดบรรจุภัณฑ์แต่ละชิ้น 

4. แต่ละคนสามารถนำถุงแบบนี้ได้เพียง 1 ใบเท่านั้น

มาตรการข้อสุดท้าย ผู้โดยสารแต่ละคนสามารถนำถุงพลาสติกใสบรรจุของเหลวได้เพียง 1 ถุงเท่านั้น ดังนั้น เหล่ากู๊ดดี้ต้องวางแผนอย่างรอบคอบว่า ของเหลวชิ้นไหนจำเป็นต้องพกติดตัวขึ้นเครื่อง และชิ้นไหนสามารถใส่กระเป๋าโหลดใต้เครื่องได้ ที่จำกัด 1 คนต่อ 1 ถุง ก็เพื่อให้มั่นใจว่าปริมาณของเหลวทั้งหมดบนเครื่องบินอยู่ในระดับที่ปลอดภัยนั่นเอง

วิธีการบรรจุของเหลวขึ้นเครื่อง

วิธีการบรรจุของเหลวขึ้นเครื่อง

  1. จัดเตรียมของเหลวขึ้นเครื่อง โดยต้องมีปริมาณไม่เกิน 100 มิลลิลิตรต่อชิ้น และเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 1,000 มิลลิลิตร 
  2. ถ้าต้องแบ่งของเหลว ควรใช้ขวดหรือถุงขนาดไม่เกิน 100 มิลลิลิตร
  3. ใช้ถุงพลาสติกใส เปิด-ปิด ผนึกได้ ขนาด 20 x 20 ซม. 
  4. จัดเรียงของเหลวให้เป็นระเบียบ ไม่แน่นจนเกินไป
  5. เมื่อถึงจุดตรวจ ต้องนำถุงของเหลวออกมาวางแยกต่างหากเพื่อสแกน

ของเหลวที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องตรวจมีอะไรบ้าง

แม้จะมีกฎเข้มงวดเกี่ยวกับการนำของเหลวขึ้นเครื่อง แต่ก็มีข้อยกเว้นสำหรับของเหลวบางประเภทด้วยนะ ไม่ว่าจะเป็น

  • ยาสามัญประจำบ้าน ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข 
  • ยาที่จำเป็น โดยต้องมีใบรับรองแพทย์ ฉลาก เอกสารกำกับยาที่ระบุชื่อผู้โดยสาร
  • อาหารสำหรับทารก หรือน้ำนมแม่ที่บรรจุในถุงน้ำนม โดยอาหารนำขึ้นได้ถ้ามีทารกร่วมเดินทาง ส่วนน้ำนมแม่นำขึ้นได้เลย ไม่จำเป็นต้องเดินทางพร้อมกับทารก
  • เครื่องสำอางที่ไม่ใช่ของเหลว เช่น ลิปสติกแบบแท่ง แป้งรองพื้น สามารถนำขึ้นเครื่องติดตัวไปได้เลย
  • ของเหลว เจล สเปรย์ หรือสินค้าต่าง ๆ ที่ซื้อจากร้านค้าปลอดภาษีหลังผ่านจุดตรวจค้นเพื่อรักษาความปลอดภัยแล้ว

เตรียมของเหลวขึ้นเครื่องให้พร้อม ผ่านจุดตรวจฉลุย!

ได้รู้กันไปแล้วว่า สามารถเอาของเหลวขึ้นเครื่องได้เท่าไหร่ ห้ามนําของเหลวขึ้นเครื่องกี่ มล.? เหล่ากู๊ดดี้อย่าลืมเตรียมของเหลวที่จะนำขึ้นเครื่องให้พร้อม จะได้ผ่านจุดตรวจค้นแบบไร้ปัญหา ไม่ต้องเสียเวลา หรือต้องทิ้งของเหลวอย่างน่าเสียดาย

สัมภาระพร้อม ของเหลวพร้อม อย่าลืมทำประกันการเดินทางติดกระเป๋าไว้ด้วยนะ จะได้เดินทางอย่างอุ่นใจ หมดกังวลเรื่องอุบัติเหตุ การเจ็บป่วย และปัญหาเที่ยวบิน ลองแวะมาเลือกประกันการเดินทางดี ๆ ที่เว็บไซต์ heygoody ได้เลย ไม่ว่าจะไปประเทศไหน ก็หาประกันที่ตอบโจทย์ได้ง่าย ๆ ในราคาสุดคุ้ม แถมยังกดซื้อเองได้เลย 24 ชม.!

ที่มา : ไทยรัฐ และ AOT Official

แชร์
ไปเลือกประกันรถยนต์กัน!
แค่กรอกข้อมูลง่าย ๆ แล้วให้ heygoody เสนอแผนที่เหมาะกับคุณ
เช็คราคาเบี้ย
ไปเลือกประกันรถยนต์กัน!
แค่กรอกข้อมูลง่าย ๆ แล้วให้ heygoody เสนอแผนที่เหมาะกับคุณ
เช็คราคาเบี้ย
แชร์
แชร์

การันตีด้วยรางวัลความสำเร็จ

Insure Tech Connect Asia
  • Brokerage Breakthrough Awards 2024
  • Data Analytics Master Awards
NEWYORK FESTIVALS
  • รางวัล Bronze หมวดหมู่ Insurance แคมเปญ #heyIntroverts
  • Finalist หมวดหมู่ Film-Non-Broadcast
chevron-down