วิธีขอวีซ่าเชงเก้นด้วยตัวเอง ง่าย ๆ เที่ยวยุโรป ปี 2024

243 คน
แชร์
วิธีขอวีซ่าเชงเก้นด้วยตัวเอง

เหล่ากู๊ดดี้สายเที่ยวคนไหนวางแผนเที่ยวยุโรปเร็ว ๆ นี้ ก่อนจะได้ไปเที่ยวแบบฟิน ๆ เรื่องสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ การขอวีซ่าเชงเก้น วันนี้ heygoody เลยไม่พลาดที่จะมาแนะนำวิธีการขอวีซ่าเชงเก้นแบบละเอียดยิบ พร้อมเทคนิคเด็ด ๆ ที่จะช่วยให้เหล่ากู๊ดดี้ได้รับวีซ่าง่ายขึ้น ถ้าพร้อมแล้วตามไปดูกัน

ยาวไปเลือกอ่านได้นะ ซ่อน

วีซ่าเชงเก้นคืออะไร

วีซ่าเชงเก้นคืออะไร

วีซ่าเชงเก้น (Schengen Visa) คือวีซ่าที่อนุญาตให้ผู้ถือสามารถเดินทางเข้าออกและพำนักในประเทศสมาชิกเขตเชงเก้นได้อย่างเสรี โดยการขอวีซ่าเชงเก้น 1 ประเทศ จะได้สิทธิเดินทางเข้าทุกประเทศในเขตเชงเก้น แต่ต้องยื่นขอวีซ่าจากประเทศที่เป็นจุดหมายหลัก เรียกได้ว่า เป็นใบเบิกทางให้การท่องเที่ยว หรือทำธุรกิจในยุโรปสะดวกมากขึ้น

ประเทศในกลุ่มเชงเก้น

วีซ่าเชงเก้นไปประเทศไหนได้บ้าง? ปัจจุบันมีประเทศในกลุ่มเชงเก้นทั้งหมด 27 ประเทศ ตามนี้เลย

  • เยอรมัน (Germany)
  • สเปน (Spain)
  • ออสเตรีย (Austria)
  • เบลเยี่ยม (Belgium)
  • ฟินแลนด์ (Finland)
  • สาธารณรัฐเช็ก (Czech Republic)
  • เดนมาร์ก (Denmark)
  • เอสโตเนีย (Estonia)
  • ฝรั่งเศส (France)
  • กรีซ (Greece)
  • ฮังการี (Hungary)
  • โปรตุเกส (Portugal)
  • ไอซ์แลนด์ (Iceland)
  • อิตาลี (Italy)
  • ลัตเวีย (Latvia)
  • ลิกเตนสไตน์ (Liechtenstein)
  • ลิทัวเนีย (Lithuania)
  • โปแลนด์ (Poland)
  • ลักเซมเบอร์ก (Luxembourg)
  • เนเธอร์แลนด์ (Netherlands)
  • นอร์เวย์ (Norway)
  • มอลตา (Malta)
  • สโลวาเกีย (Slovakia)
  • สโลวีเนีย (Slovenia)
  • สวีเดน (Sweden)
  • สวิตเซอร์แลนด์ (Switzerland)
  • โครเอเชีย (Croatia)

ระยะเวลาที่สามารถพำนักได้

วีซ่าเชงเก้นอนุญาตให้พำนักในเขตเชงเก้นได้สูงสุด 90 วัน ในช่วงเวลา 180 วัน นับจากวันที่เดินทางเข้าครั้งแรก นั่นแปลว่า เหล่ากู๊ดดี้สามารถเที่ยวได้เต็มที่ 3 เดือน แต่ต้องระวังไม่ให้เกินกำหนดเวลานะ ถ้าต้องการอยู่นานกว่านั้น ก็ต้องขอวีซ่าพำนักระยะยาว (Long-stay Visa) หรือเรียกว่า "Visa Type D" เพิ่มเติม

ขั้นตอนการขอวีซ่าเชงเก้นด้วยตัวเอง

ขั้นตอนการขอวีซ่าเชงเก้นด้วยตัวเอง

การขอวีซ่าเชงเก้นอาจดูเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่ไม่ต้องกลัวไป! heygoody จะแนะนำขั้นตอนแบบละเอียดให้เหล่ากู๊ดดี้ทำตามได้ง่าย ๆ เลย มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

1. เลือกประเทศที่จะยื่นขอวีซ่า

เหล่ากู๊ดดี้ต้องเลือกประเทศและสถานที่ยื่นขอวีซ่าให้ถูกต้อง โดยมีหลักการง่าย  ๆ ดังนี้

  • ถ้าเที่ยวประเทศเดียว ให้ยื่นขอกับสถานทูต หรือศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าของประเทศนั้นเลย
  • ถ้าเที่ยวหลายประเทศ ให้ยื่นขอกับสถานทูต หรือศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าของประเทศที่จะพักนานที่สุด
  • ถ้าพักเท่า ๆ กัน ให้ยื่นกับสถานทูต หรือศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าของประเทศแรกที่จะเดินทางเข้า

2. กรอกแบบฟอร์มออนไลน์

เหล่ากู๊ดดี้ต้องกรอกแบบฟอร์มขอวีซ่าออนไลน์ให้ครบถ้วนและถูกต้อง โดยสามารถหาแบบฟอร์มได้จากเว็บไซต์ของสถานทูต หรือศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าของประเทศที่จะยื่นขอ อย่าลืมตรวจสอบข้อมูลให้ดีก่อนส่งนะ โดยเฉพาะข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์

3. จองคิวยื่นเอกสาร

หลังจากกรอกแบบฟอร์มแล้ว ต้องจองคิวเพื่อไปยื่นเอกสารและสัมภาษณ์ โดยสามารถจองผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของศูนย์รับคำร้องขอวีซ่า ควรจองล่วงหน้าอย่างน้อย 2-3 เดือนก่อนวันเดินทาง เพราะคิวมักจะเต็มเร็วมาก!

4. เตรียมเอกสารประกอบการยื่นขอวีซ่า

ขั้นตอนนี้สำคัญมาก! เหล่ากู๊ดดี้ต้องเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนตามที่สถานทูตกำหนด (ซึ่งเราจะมีรายละเอียดในหัวข้อถัดไป) เมื่อถึงเวลานัด ต้องไปยื่นเอกสารที่สถานทูต หรือศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าด้วยตัวเอง เพราะจะมีการเก็บลายนิ้วมือและสัมภาษณ์ด้วย

5. ชำระค่าธรรมเนียมวีซ่า

ค่าวีซ่าเชงเก้นจะแตกต่างกันตามอายุ ดังนี้

  • ผู้ใหญ่ 90 ยูโร
  • เด็กอายุระหว่าง 6 – 11 ปี 45 ยูโร หรือประมาณ 1,450 บาท 
  • เด็กอายุตั้งแต่ 0 – 5 ปี ไม่มีค่าธรรมเนียมวีซ่า

6. ยื่นเอกสารและสัมภาษณ์

อย่างที่บอกไปว่า เหล่ากู๊ดดี้ต้องไปที่ศูนย์รับคำร้องขอวีซ่า หรือสถานทูตเพื่อยื่นเอกสารและเข้ารับการสัมภาษณ์ ซึ่งคำถามสัมภาษณ์จะเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนตัวและรายละเอียดในการท่องเที่ยว  ให้ตอบคำถามตามความเป็นจริง หลังจากสัมภาษณ์เสร็จ ทางเจ้าหน้าที่จะขอเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล (Biometric) เช่น เก็บลายนิ้วมือ และถ่ายรูปหน้าตรงด้วยระบบดิจิทัล

7. รอผลการพิจารณา

หลังจากยื่นเอกสารและสัมภาษณ์แล้ว ก็ถึงเวลารอลุ้นผล โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 15 วันทำการ แต่อาจนานถึง 45 วัน เหล่ากู๊ดดี้สามารถติดตามสถานะได้ทางอีเมล หรือเว็บไซต์ของศูนย์รับยื่นวีซ่าได้เลย

เอกสารสำคัญที่ต้องเตรียมสำหรับการขอวีซ่าเชงเก้น

เอกสารขอวีซ่าเชงเก้นที่ต้องเตรียมพร้อม ได้แก่

  • แบบฟอร์มขอวีซ่าที่กรอกเรียบร้อยแล้ว
  • หนังสือเดินทาง (Passport) ที่มีอายุเหลือมากกว่า 6 เดือนนับจากวันเดินทางกลับ
  • รูปถ่ายสี ขนาด 3.5 x 4 ซม. พื้นหลังสีขาว ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน เห็นใบหู คิ้ว และใบหน้าชัดเจน
  • หลักฐานการจองตั๋วเครื่องบินไป-กลับ
  • หลักฐานการจองที่พัก ตลอดระยะเวลาการเดินทาง
  • ประกันการเดินทางที่มีวงเงินไม่ต่ำกว่า 30,000 ยูโร และเป็นประกันจากบริษัทประกันชั้นนำที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก 
  • หลักฐานทางการเงิน เช่น สเตทเมนท์บัญชีย้อนหลัง 3 เดือน
  • จดหมายรับรองการทำงานจากนายจ้าง หรือหลักฐานการประกอบธุรกิจส่วนตัว
  • แผนการเดินทางโดยละเอียด
  • สำหรับวีซ่าเยี่ยมเยียน ต้องมีจดหมายเชิญพร้อมระบุความสัมพันธ์จากเจ้าบ้าน
  • สำหรับวีซ่าทางธุรกิจ ต้องมีหนังสือเชิญจากบริษัท บัตรเข้างาน พร้อมวัตถุประสงค์ในการเข้าร่วม
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • เอกสารอื่น ๆ ตามที่สถานทูตร้องขอเพิ่มเติม

ขอวีซ่ายุโรปต้องมีเงินในบัญชีเท่าไหร่

จะขอวีซ่าเที่ยวยุโรป หรือวีซ่าเชงเก้น ควรมีเงินสำรองในบัญชีอย่างน้อย 50,000 - 100,000 บาท โดยให้เฉลี่ยค่าใช้จ่ายประมาณ 100 ยูโรต่อวัน หรือประมาณ 3,500 – 4,000 บาท

เทคนิคเตรียมตัวเพื่อเพิ่มโอกาสได้รับวีซ่าเชงเก้น

เทคนิคเตรียมตัวเพื่อเพิ่มโอกาสได้รับวีซ่าเชงเก้น

ถ้าอยากได้วีซ่าเชงเก้นแบบชัวร์ ๆ มาดูเทคนิคเด็ด ๆ ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสให้ได้รับวีซ่ากันเลย!

1. วางแผนการเดินทางอย่างละเอียด

การวางแผนการเดินทางที่ชัดเจนและสมเหตุสมผลเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ เหล่ากู๊ดดี้ควรจัดทำตารางการเดินทางแบบละเอียด โดยระบุวันเวลา สถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก และวิธีการเดินทางระหว่างเมืองหรือประเทศให้ครบถ้วน แผนการเดินทางที่ดีจะแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจจริงในการท่องเที่ยว และช่วยให้เจ้าหน้าที่พิจารณาวีซ่าเข้าใจจุดประสงค์การเดินทางของเหล่ากู๊ดดี้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

2. เตรียมหลักฐานทางการเงิน

เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ สำคัญมาก เหล่ากู๊ดดี้ต้องแสดงให้เห็นว่า มีเงินเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายตลอดการเดินทาง และมีรายได้ที่มั่นคงพอที่จะกลับมาทำงานในประเทศไทย วิธีง่าย ๆ คือเตรียมสเตทเมนท์บัญชีย้อนหลัง 3 เดือน ที่แสดงรายรับรายจ่ายปกติ และมียอดเงินคงเหลือที่เพียงพอ นอกจากนี้ หนังสือรับรองเงินเดือนหรือหลักฐานรายได้อื่น ๆ ก็จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือได้มากขึ้นด้วย

3. เตรียมตัวสำหรับการสัมภาษณ์

การสัมภาษณ์เป็นโอกาสสำคัญที่เหล่ากู๊ดดี้จะได้อธิบายแผนการเดินทางด้วยตัวเอง ดังนั้นต้องเตรียมตัวให้พร้อม ฝึกตอบคำถามพื้นฐานเกี่ยวกับแผนการเดินทาง เหตุผลที่อยากไปเที่ยว และข้อมูลส่วนตัวให้คล่อง แต่งตัวสุภาพเรียบร้อย และที่สำคัญที่สุดคือ ตอบคำถามด้วยความจริงใจและมั่นใจ อย่าโกหกหรือให้ข้อมูลเท็จเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ถูกปฏิเสธวีซ่าได้

การเปลี่ยนแปลงในการขอวีซ่าเชงเก้น

การขอวีซ่าเชงเก้นมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่ควรรู้ไว้ มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

ระบบ ETIAS

ETIAS (European Travel Information and Authorization System) เป็นระบบชำภาษีท่องเที่ยวเดินทาง 7 ยูโร ที่ต้องทำพร้อมกับการขอวีซ่า เมื่อผ่านการอนุมัติ ETIAS จะมีอายุ 3 ปี อย่างไรก็ตาม ระบบนี้ที่เดิมคาดว่าจะเริ่มดำเนินการในเดือนพฤษภาคม ปี 2023 ได้ถูกเลื่อนการบังคับใช้งานไปเป็นปี 2025 ถ้ามีอัปเดต heygoody จะรีบมาแจ้งโดยด่วน!

การเพิ่มขึ้นของค่าธรรมเนียม

ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2567 อัตราค่าธรรมเนียมวีซ่าเชงเก้นสำหรับผู้ใหญ่จะเป็น 90 ยูโร และสำหรับเด็กอายุระหว่าง 6 – 12 ปี เป็น 45 ยูโร 

เลือกประกันเดินทางจาก heygoody ใช้ขอวีซ่าเชงเก้นได้!

เป็นไงบ้าง การขอวีซ่าเชงเก้นอาจดูเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่ถ้าเตรียมตัวดี ๆ วางแผนการเดินทางให้ละเอียด เตรียมหลักฐานทางการเงินที่น่าเชื่อถือ และเตรียมตัวสัมภาษณ์อย่างมั่นใจ ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการได้รับวีซ่าเชงเก้นได้มากขึ้นแล้ว และอย่าลืมทำประกันเดินทางต่างประเทศด้วยนะ นอกจากจะเป็นเอกสารสำคัญในการขอวีซ่าแล้ว ยังช่วยให้เหล่ากู๊ดดี้เที่ยวได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาลหรือเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ 

heygoody คัดแผนประกันเดินทางสุดคุ้มมาให้แล้ว สามารถใช้ยื่นขอวีซ่าเชงเก้นได้ คุ้มครองครบทั้งเที่ยวบิน ค่ารักษาพยาบาล ทรัพย์สิน และสัมภาระส่วนตัว ราคาเริ่มต้นแค่หลักร้อย แต่คุ้มครองสูงถึงหลักล้าน! คุ้มขนาดนี้ ไม่มีไม่ได้แล้ว!

ที่มา : THAI-CANADA GROUP, อาร์ทราลักซ์ และ Springnews

แชร์
ไปเลือกประกันรถยนต์กัน!
แค่กรอกข้อมูลง่าย ๆ แล้วให้ heygoody เสนอแผนที่เหมาะกับคุณ
เช็คราคาเบี้ย
ไปเลือกประกันรถยนต์กัน!
แค่กรอกข้อมูลง่าย ๆ แล้วให้ heygoody เสนอแผนที่เหมาะกับคุณ
เช็คราคาเบี้ย
แชร์
แชร์

การันตีด้วยรางวัลความสำเร็จ

Insure Tech Connect Asia
  • Brokerage Breakthrough Awards 2024
  • Data Analytics Master Awards
NEWYORK FESTIVALS
  • รางวัล Bronze หมวดหมู่ Insurance แคมเปญ #heyIntroverts
  • Finalist หมวดหมู่ Film-Non-Broadcast
chevron-down