ไข้หวัดใหญ่ญี่ปุ่นระบาดหนัก! รับมือยังไงเมื่อป่วยที่ญี่ปุ่น

3 คน
แชร์
รับมือยังไงเมื่อเจ็บป่วยที่ญี่ปุ่น

การเสียชีวิตของ บาร์บี้ ซู (Barbie Hsu) หรือ ต้าเอส นักแสดงชื่อดังชาวไต้หวันจากภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่ญี่ปุ่น ทำให้หลายคนเริ่มตระหนักถึงความรุนแรงของโรคนี้มากขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่ญี่ปุ่นเข้าสู่ฤดูหนาว ไข้หวัดใหญ่จะระบาดหนักทุกปี นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเยือนต้องเตรียมตัวให้ดี เพราะถ้าป่วยขึ้นมา อาจเผชิญทั้งค่าใช้จ่ายมหาศาลและความยุ่งยากในการเข้ารับการรักษา 

วันนี้ heygoody เลยสรุปวิธีรับมือเมื่อป่วยที่ญี่ปุ่น ทั้งป่วยไข้หวัดใหญ่ หรือป่วยโรคอื่น ๆ ให้เหล่ากู๊ดดี้ได้เตรียมตัวกันแบบอุ่นใจ

สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ญี่ปุ่น 2025

ในช่วงปลายปี 2024 จนถึงต้นปี 2025 การระบาดของไข้หวัดใหญ่ญี่ปุ่นทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เรียกได้ว่า รุนแรงที่สุดในรอบ 25 ปี โดยมีผู้ติดเชื้อสะสม 9.5 ล้านคน และอัตราการติดเชื้อรายวันเฉลี่ย 66,132 คน โดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างโตเกียว ผู้ป่วยเพิ่มสูง โรงพยาบาลหลายแห่งไม่รับคนเพิ่ม ถ้าอาการไม่หนัก

นักท่องเที่ยวจึงควรเตรียมตัวให้พร้อม ติดตามข่าวสารด้านสาธารณสุขและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ก่อนการเดินทาง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีโรคประจำตัว 

ระบบการรักษาพยาบาลของประเทศญี่ปุ่น

ระบบการรักษาพยาบาลของประเทศญี่ปุ่น

หลังจากมีข่าวการเสียชีวิตของต้าเอส ทำให้หลายฝ่ายกังวลเกี่ยวกับระบบการรักษาพยาบาลของประเทศญี่ปุ่นที่อาจส่งผลกระทบต่อทั้งประชาชนและนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ

ดังนั้นก่อนจะไปดูวิธีรับมือเมื่อป่วยที่ญี่ปุ่น heygoody ขอพาไปทำความเข้าใจระบบการรักษาพยาบาลของญี่ปุ่นก่อน เพราะมีความแตกต่างจากประเทศไทยอยู่พอสมควร ทั้งเรื่องขั้นตอน การจ่ายยา และค่าใช้จ่าย มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

ร้านขายยา

ร้านขายยาในญี่ปุ่นแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ Drug Store ที่ขายทั้งยาสามัญ เครื่องสำอาง และของใช้ทั่วไป สามารถซื้อยากับเภสัชกรได้โดยไม่จำเป็นต้องมีใบรับรองแพทย์ หรือใบสั่งยา กับร้านขายยาที่ต้องใช้ใบสั่งยา โดยเฉพาะเมื่อป่วยที่ญี่ปุ่น 

เหล่ากู๊ดดี้จะต้องเข้าใจว่า ระบบการจ่ายยาที่นี่จะแยกออกจากโรงพยาบาลโดยสิ้นเชิง แม้จะไปหาหมอ เราก็ต้องนำใบสั่งยาไปซื้อที่ร้านขายยาแยกต่างหาก ซึ่งจะมีเภสัชกรคอยให้คำแนะนำการใช้ยาอย่างละเอียด พร้อมบันทึกประวัติการใช้ยาลงในสมุดประจำตัวเพื่อป้องกันการใช้ยาซ้ำซ้อน

โรงพยาบาลหรือคลินิก

โรงพยาบาลญี่ปุ่นมีทั้งขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ โดยโรงพยาบาลขนาดใหญ่จะมีเตียงรองรับผู้ป่วยเยอะ มีแผนกเฉพาะทางครบครัน พร้อมให้บริการตั้งแต่การผ่าตัดไปจนถึงการรักษาโรคซับซ้อน ส่วนใหญ่จะมีล่ามหรือพนักงานที่สื่อสารภาษาอังกฤษได้ ทำให้ชาวต่างชาติเข้าถึงบริการได้ง่ายขึ้น แต่อาจต้องรอคิวนานถ้าไม่ได้นัดล่วงหน้า

ส่วนคลินิกจะเป็นสถานพยาบาลขนาดเล็กที่มีเตียงไม่เกิน 19 เตียง เน้นรักษาอาการเจ็บป่วยทั่วไป คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะเลือกไปคลินิกก่อนเป็นอันดับแรกเมื่อมีอาการไม่สบาย ถ้าอาการรุนแรงเกินความสามารถของคลินิก แพทย์จะส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลขนาดใหญ่ ยังไงก็ตาม อย่าลืมเช็คให้ชัวร์ว่า คลินิกที่จะเข้ารับบริการเป็นคลินิกเฉพาะทางกับความเจ็บป่วยที่เราไหม ไม่งั้นอาจถูกปฏิเสธการรักษาได้

รถฉุกเฉิน

สำหรับกรณีฉุกเฉินที่ต้องเรียกรถพยาบาลในญี่ปุ่น เหล่ากู๊ดดี้สามารถโทร 119 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเบอร์เดียวกับแจ้งเหตุเพลิงไหม้ เมื่อโทรไป ให้แจ้งว่าต้องการรถพยาบาลด้วยคำว่า "คิวคิว" (救急) เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ในระดับพื้นฐาน พยายามอธิบายอาการและตำแหน่งที่อยู่ให้ชัดเจน

เจ็บป่วยระหว่างเดินทางในญี่ปุ่น ต้องทำยังไง

เจ็บป่วยระหว่างเดินทางในญี่ปุ่น ต้องทำยังไง

เมื่อป่วยที่ญี่ปุ่น มาดูกันว่าควรทำรับมือยังไงในแต่ละกรณี

ป่วยธรรมดา (ไม่รุนแรง)

ถ้ามีอาการป่วยเล็กน้อย เช่น ไข้หวัด ปวดท้อง หรือเจ็บปวดเล็กน้อย สามารถเข้าไปซื้อยา หรือขอคำแนะนำจากเภสัชกรได้ที่ร้านขายยาทั่วไปในละแวกใกล้เคียงได้เลย แต่ถ้าต้องการพบแพทย์ที่โรงพยาบาลญี่ปุ่น ทำตามขั้นตอนเหล่านี้ได้เลย

  1. ตั้งสติ และติดต่อบริษัทประกัน (กรณีทำประกันเดินทางไว้) เพื่อให้เจ้าหน้าที่แนะนำโรงพยาบาลให้ (และอาจแจ้งให้เจ้าหน้าที่ให้ช่วยลงทะเบียนกับโรงพยาบาลล่วงหน้า เพื่อลดขั้นตอน)
  2. หากไม่มีประกันเดินทาง สามารถ้นหาคลินิกหรือโรงพยาบาลญี่ปุ่นใกล้ที่พัก โดยใช้แอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ของสถานทูตไทยในญี่ปุ่น Japan National Tourism Organization (JNTO) หรือสอบถามจากเจ้าหน้าที่โรงแรมเพื่อหาสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
  3. ลงทะเบียน และกรอกข้อมูลที่แผนกต้อนรับของโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่จะสอบถามข้อมูล เหล่ากู๊ดดี้สามารถตรวจสอบค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ ก่อนเข้ารับการรักษาได้
  4. พบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย และชำระค่ารักษาพยาบาล ถ้าต้องใช้ยา แพทย์จะออกใบสั่งให้ไปรับยาที่ร้านขายยา
  5. นำใบสั่งยาไปรับยาที่ร้านขายยาใกล้เคียง และชำระค่ายาต่างหาก ถ้ามีประกันการเดินทาง อย่าลืมเก็บเอกสารใบรับรองแพทย์ และใบเสร็จจากการซื้อยาตามใบสั่งแพทย์ เพื่อเคลมค่ารักษาด้วยนะ

ป่วยฉุกเฉิน (รุนแรง)

ถ้าเกิดอาการป่วยฉุกเฉิน เช่น หายใจไม่ออก เจ็บปวดอย่างรุนแรง หรือเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุด ทำตามขั้นตอนเหล่านี้ได้เลย

  1. โทร 119 ทันที เพื่อเรียกรถฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่จะถามว่า เป็นเหตุไฟไหม้หรือเหตุฉุกเฉิน “Kaji desu ka? Kyukyu desu ka?” ให้ตอบว่า "Kyukyu - คิวคิว" ซึ่งหมายถึงเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์
  2. ถ้าพอเดินทางได้ ให้ไปที่แผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลใกล้ที่สุด โดยโรงพยาบาลที่รองรับผู้ป่วยฉุกเฉิน มีดังนี้
    • โรงพยาบาลฉุกเฉินวันหยุด (Kyuujitsu Kyuukyu Touban Byouin) เปิดให้บริการในวันหยุดราชการและวันนักขัตฤกษ์
    • โรงพยาบาลฉุกเฉินกลางคืน (Yakan Kyūbyō Center) เปิดเฉพาะเวลากลางคืนในเมืองใหญ่ ส่วนเมืองเล็กอาจใช้ระบบเวรหมุนเวียน
  3. เมื่อไปถึงโรงพยาบาลฉุกเฉิน ให้ลงทะเบียนที่แผนกต้อนรับ เจ้าหน้าที่ส่งต่อไปยังแพทย์ที่พร้อมให้บริการ 
  4. แพทย์ตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเร่งด่วนตามอาการ
  5. หลังการรักษา ผู้ป่วยหรือครอบครัวนำใบเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลไปชำระได้ที่แผนกการเงินได้เลย และอย่าลืมเก็บเอกสารใบรับรองแพทย์ และใบเสร็จเพื่อเคลมค่ารักษากับประกันเดินทางด้วย

ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ญี่ปุ่น

ค่ารักษาพยาบาลในญี่ปุ่นค่อนข้างสูง โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวอย่างเรา ๆ ที่ไม่มีประกันสุขภาพญี่ปุ่น (NHI) ค่ารักษาต้องจ่ายเต็ม เช่น

  • ค่าตรวจและพบแพทย์ เริ่มต้น 5,000 เยน
  • ค่าตรวจไข้หวัดใหญ่โดยละเอียด (เช่น X-ray หรือ PCR) 10,000-30,000 เยน
  • ค่ายาเพิ่มเติม 2,000-10,000 เยน
  • ค่านอนโรงพยาบาล 1 คืน เริ่มต้นที่ 100,000 เยน

คำแนะนำที่ดีที่สุดสำหรับเหล่ากู๊ดดี้ คืออย่าลืมซื้อประกันเดินทางต่างประเทศ จะช่วยเรื่องค่าใช้จ่ายได้

ข้อควรรู้อื่น ๆ เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลในญี่ปุ่น

ข้อควรรู้อื่น ๆ เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลในญี่ปุ่น

แม้ญี่ปุ่นมีระบบสาธารณสุขที่มีคุณภาพสูง แต่ก็มีข้อจำกัดบางอย่างที่นักท่องเที่ยวควรรู้ ดังนี้

  • เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลบางแห่งใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นหลัก โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท
  • โรงพยาบาลญี่ปุ่นมักมีระบบการนัดหมายล่วงหน้า ถ้าไม่นัดหมาย ต้องรอคิว
  • ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ โรงพยาบาลหลายแห่งไม่มีแพทย์ให้บริการ
  • โรงพยาบาล หรือคลินิกขนาดเล็กในเมืองมักรับเฉพาะเงินสด

วิธีเตรียมตัวก่อนเที่ยว รับมือไข้หวัดใหญ่ญี่ปุ่น

ก่อนเดินทางไปญี่ปุ่นในช่วงที่มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่แบบนี้ เหล่ากู๊ดดี้ควรเตรียมตัวให้พร้อม!

  1. ทำประกันเดินทางที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในต่างประเทศ
  2. ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ล่วงหน้า 2-4 สัปดาห์
  3. พกหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ และยาสามัญประจำบ้าน
  4. เซฟข้อมูลโรงพยาบาลและคลินิกใกล้ที่พัก
  5. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันแปลภาษา และแอปพลิเคชันแผนที่ออฟไลน์
  6. จดเบอร์ฉุกเฉินและเบอร์ติดต่อบริษัทประกัน

ป่วยที่ญี่ปุ่นก็ไม่หวั่น มีประกันเดินทางจาก heygoody ดูแล!

ป่วยที่ญี่ปุ่นก็ไม่หวั่น มีประกันเดินทางจาก heygoody ดูแล!

อ่านมาถึงตรงนี้ คงพอจะเห็นภาพว่า การรักษาพยาบาลในญี่ปุ่นยุ่งยากกว่าที่ไทยเยอะ แถมค่ารักษาพยาบาลก็ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เลย การมีประกันเดินทางที่ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลจะช่วยให้เหล่ากู๊ดดี้อุ่นใจ ไม่ต้องกังวลกับค่ารักษาเมื่อป่วยที่ญี่ปุ่น

heygood มัดรวมแผนประกันเดินทางต่างประเทศสุดคุ้มจาก 3 บริษัทประกันมาแนะนำ รับรองว่า ตอบโจทย์คนชอบเที่ยวญี่ปุ่นแน่นอน!

ซมโปะประกันภัย

  • ติดต่อ Sompo Assist 24 ชม. ทั่วโลก เพื่อรับคำแนะนำในการรักษาพยาบาลได้เลย
  • ไม่ต้องสำรองจ่ายทั้ง IPD และ OPD ที่ญี่ปุ่น
  • หาหมอไม่ต้องกลัวสื่อสารไม่รู้เรื่อง มีล่ามญี่ปุ่นให้
  • รักษาที่ญี่ปุ่นไม่ทัน กลับมาหาหมอที่ไทยภายใน 24 ชม. หรือ 1 วัน สามารถเบิกค่ารักษาได้ 

เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย

  • ติดต่อ MSIG Assist 24 ชม. ทั่วโลก เพื่อรับคำแนะนำในการรักษาพยาบาลได้เลย
  • ผู้ป่วยใน (IPD) รักษาได้ทันที ไม่ต้องสำรองจ่าย ส่วนผู้ป่วยนอก (OPD) เก็บเอกสารมาเบิกเคลมภายหลังได้
  • ปรึกษาแพทย์ทางไกลจากญี่ปุ่นฟรี! (ผ่านแอปพลิเคชัน MorDee) และสามารถใช้ใบรับรองแพทย์จากการปรึกษามายื่นเคลมค่ายาที่แพทย์แนะนำให้ซื้อระหว่างอยู่ต่างประเทศได้อีกด้วย
  • รักษาที่ญี่ปุ่นไม่ทัน กลับมาหาหมอที่ไทยภายใน 168 ชม. หรือ 7 วัน สามารถเบิกค่ารักษาได้

กรุงไทยพานิช ประกันภัย

  • ติดต่อ KPI Assist 24 ชม. ทั่วโลก เพื่อรับคำแนะนำในการรักษาพยาบาลได้เลย
  • ผู้ป่วยใน (IPD) รักษาได้ทันที ไม่ต้องสำรองจ่าย ส่วนผู้ป่วยนอก (OPD) เก็บเอกสารมาเบิกเคลมภายหลังได้
  • รักษาที่ญี่ปุ่นไม่ทัน กลับมาหาหมอที่ไทยภายใน 12 ชม. สามารถเบิกค่ารักษาได้

*โปรดตรวจสอบแผนความคุ้มครอง และกรมธรรม์ที่ท่านเลือกซื้อ

ไข้หวัดใหญ่ระบาดในญี่ปุ่นอาจทำให้ทริปสุดฟินกลายเป็นฝันร้ายได้ในพริบตา แต่ถ้ามีประกันเดินทางจาก heygoody ติดตัวไว้ ไม่ว่าจะเจ็บป่วยเล็กน้อยหรือฉุกเฉินหนัก ก็ไม่ต้องห่วงค่ารักษา แถมบางแผนยังไม่ต้องสำรองจ่าย รักษาได้ทั้งที่ญี่ปุ่นและกลับมาเบิกค่ารักษาที่ไทยได้อีก ก่อนบินรีบมาเช็คราคาและซื้อประกันที่เว็บไซต์ heygoody จะได้เที่ยวให้สุด แล้วหยุดที่ความอุ่นใจ มีประกันดี ๆ ไว้ ป่วยแค่ไหนก็ไม่หวั่น! 

ที่มา : ไทยรัฐ, Thai PBS และ true ID

แชร์
ไปเลือกประกันรถยนต์กัน!
แค่กรอกข้อมูลง่าย ๆ แล้วให้ heygoody เสนอแผนที่เหมาะกับคุณ
เช็คราคาเบี้ย
ไปเลือกประกันรถยนต์กัน!
แค่กรอกข้อมูลง่าย ๆ แล้วให้ heygoody เสนอแผนที่เหมาะกับคุณ
เช็คราคาเบี้ย
แชร์
แชร์
16 รางวัล
การันตีความสำเร็จจากเวทีระดับโลก ดูรางวัลทั้งหมด
Insure Tech Connect Asia
Insure Tech Connect Asia
Brokerage Breakthrough · Data Analytics Master Awards - 2024
Global Retail Banking Innovation
Global Retail Banking Innovation
Best Customer Centric Business Model - 2024
New York Festivals Awards 2024
New York Festivals Awards 2024
Best Customer Centric Business Model - 2024
The Work 2024
The Work 2024
Film/TV Craft · Film/Web Film · Culture · Work for Good · Branded Content+Entertainment - 2024
Thailand Influencer Awards 2024 by Tellscore
Thailand Influencer Awards 2024 by Tellscore
Best Financial & Investment Influencer Campaign - 2024
AdPeople Awards & Symposium 2024
AdPeople Awards & Symposium 2024
•Silver หมวดหมู่ Craft
•Bronze หมวดหมู่ Craft
•Bronze หมวดหมู่ Film
Marketing Award of Thailand 2024
Marketing Award of Thailand 2024
Silver -Brand Experience & Communication
chevron-down