มะเร็ง เป็นโรคร้ายแรงที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นจำนวนมากในทุกปี โดยมีผู้ป่วยมะเร็งเสียชีวิตถึง 7 คนต่อชั่วโมง! ซึ่งเหล่ากู๊ดดี้รู้หรือไม่ว่า พฤติกรรมในชีวิตประจำวันของเราเองก็เป็นสาเหตุการเกิดโรคมะเร็งได้โดยที่เราไม่รู้ตัว ในบทความนี้ heygoody มัดรวม 10 พฤติกรรมเสี่ยงมะเร็งที่หลายคนอาจจะไม่เคยรู้มาให้แล้ว มาทำความเข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงกันดีกว่า!
การเกิดมะเร็งไม่ได้มีสาเหตุเดียว แต่เกิดจากหลายปัจจัยรวมกัน ซึ่งรวมถึงพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของเราด้วย มาดูกันว่ามีพฤติกรรมอะไรบ้างที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง
การนอนดึกเป็นประจำเป็นหนึ่งในพฤติกรรมเสี่ยงมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งเต้านมในผู้หญิง เพราะการนอนดึกทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเมลาโทนินน้อยลง ซึ่งฮอร์โมนนี้มีส่วนสำคัญในการต่อต้านการเกิดมะเร็ง นอกจากนี้ การนอนไม่เพียงพอยังทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ไม่ใช่แค่มะเร็งด้วย
วิธีแก้ไข : พยายามเข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลา โดยนอนอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อคืน
ดื่มเครื่องดื่มร้อนเกินไป ก็อันตรายได้! การดื่มเครื่องดื่มร้อนจัดเป็นประจำ โดยเฉพาะที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 65 องศาเซลเซียส เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหลอดอาหาร เนื่องจากความร้อนจัดสามารถทำลายเยื่อบุหลอดอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังได้
วิธีแก้ไข : รอให้เครื่องดื่มเย็นลงสักพักก่อนดื่ม และควรดื่มแบบช้า ๆ ทีละนิด เพื่อไม่ให้ความร้อนทำลายผนังหลอดอาหาร
สายปิ้งย่างต้องระวัง! อาหารปิ้งย่างจนไหม้เกรียม โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ เป็นหนึ่งในอาหารที่เสี่ยงมะเร็ง เนื่องจากเมื่ออาหารไหม้เกรียม จะเกิดสารก่อมะเร็งที่เรียกว่า Heterocyclic amines (HCAs) และ Polycyclic aromatic hydrocarbons (PAHs) ถ้าสะสมในร่างกายมาก ๆ จะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหารได้
วิธีแก้ไข : หลีกเลี่ยงอาหารที่ไหม้เกรียม หรือลองเปลี่ยนวิธีการปรุงเป็นการนึ่ง หรือต้มบ้าง เพื่อความหลากหลาย
การนั่งทำงานติดต่อกันนาน ๆ โดยไม่ลุกเคลื่อนไหวร่างกายเลย เพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ เพราะเมื่อเรานั่งนิ่ง ๆ ไม่ยืดเส้นยืดสาย ร่างกายก็ไม่ได้เผาผลาญไขมันเท่าที่ควร ไขมันเลยสะสมที่สะโพกและหน้าท้องแบบเต็ม ๆ แถมยังเสี่ยงเป็นโรคอ้วนอีกต่างหาก! ยิ่งไปกว่านั้น ไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกายอาจกลายเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดมะเร็งลำไส้ได้ในที่สุด
วิธีแก้ไข : พยายามเคลื่อนไหวร่างกาย ลุกไปเดิน หรือยืดเส้นยืดสายช่วงสั้น ๆ ทุก ๆ 30 นาที
บุหรี่มีสารก่อมะเร็งมากกว่า 70 ชนิด ซึ่งไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งปอดเท่านั้น แต่ยังเพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งเกือบทุกชนิด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ และ heygoody ขอเตือนว่า บุหรี่ไฟฟ้าก็ไม่ได้ปลอดภัยไปกว่ากัน เพราะมีสารอันตราย เช่น โพรไพลีนไกลคอล และกลีเซอรีน ที่อาจทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็งปอดได้
การสูบบุหรี่นอกจากจะทำร้ายร่างกายคนสูบแล้ว ควันบุหรี่จากบุหรี่ธรรมดา หรือละอองไอที่พ่นออกมาจากบุหรี่ไฟ้า ยังทำลายสุขภาพของคนรอบข้างอีกด้วย
วิธีแก้ไข : เลิกสูบบุหรี่เป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่ถ้าเลิกเองไม่ได้ heygoody แนะนำให้ลองปรึกษาแพทย์ และหลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีคนสูบบุหรี่ด้วยนะ
ข้อนี้สาว ๆ ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะคนที่ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดเป็นเวลานาน มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าคนที่ไม่ได้ใช้ เนื่องจากยาคุมกำเนิดมีส่วนผสมของฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งถ้าได้รับฮอร์โมนชนิดนี้เป็นระยะเวลานาน ย่อมมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง
วิธีแก้ไข : ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาคุมกำเนิดต่อเนื่อง ควรอยู่ในความควบคุมดูแลของสูตินรีแพทย์ และควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมสม่ำเสมอ
มลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่น PM2.5 เป็นหนึ่งในสาเหตุการเกิดมะเร็งปอด ยิ่งผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปอดอยู่แล้ว ถ้าสัมผัสฝุ่นละออง PM 2.5 ก็มีโอกาสเสียชีวิตสูงมากกว่าปกติ ไม่เพียงเท่านั้น ฝุ่น PM2.5 ซึ่งมีขนาดเล็กมาก เมื่อเข้าสู่กระแสเลือด จะส่งผลต่อหัวใจและหลอดเลือดได้เช่นกัน
วิธีแก้ไข : ใส่หน้ากากอนามัยเมื่อต้องอยู่ในที่ที่มีมลพิษสูง และติดตั้งเครื่องฟอกอากาศในบ้าน
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ว่าจะเป็นไวน์ เบียร์ หรือสุรา ล้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งที่ศีรษะและลำคอ มะเร็งตับ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้และทวารหนัก โดยเมื่อแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกาย จะถูกเปลี่ยนเป็นสารอะซีตัลดีไฮด์ (Acetaldehyde) ซึ่งสามารถทำลาย DNA ภายในเซลล์ ทำให้เซลล์ในร่างกายอ่อนแอลง รู้แบบนี้แล้ว ใครเป็นคอดื่มต้องรีบปรับพฤติกรรมด่วน!
วิธีแก้ไข : ลด ละ เลิกการดื่มแอลกอฮอล์ หรือควรดื่มในปริมาณที่จำกัด
อาหารแปรรูป เช่น เนื้อแปรรูป แฮม ไส้กรอก เบคอน กุนเชียง และลูกชิ้น เป็นอาหารก่อมะเร็ง เพราะมีสารก่อมะเร็งอย่างไนโตรซามีน (Nitrosamine) และโพแทสเซียมไนเตรต (Potassium nitrate) เป็นส่วนประกอบ ถ้าบริโภคอาหารเหล่านี้มากเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งลำไส้และมะเร็งกระเพาะอาหารได้
วิธีแก้ไข : ลดการบริโภคอาหารแปรรูป หันมารับประทานอาหารสดและอาหารที่ปรุงเองที่บ้านให้มากขึ้น เพิ่มการรับประทานผักและผลไม้ให้หลากหลาย
ชาวหวาน 100% ฟังทางนี้ น้ำตาลฟรุกโตส (Fructose) ที่พบในผักและผลไม้ และเป็นน้ำตาลที่เติมเข้าไปในเครื่องดื่มต่าง ๆ เป็นแหล่งพลังงานให้แก่เซลล์มะเร็ง โดยเฉพาะเซลล์มะเร็งในลำไส้ใหญ่ รวมถึงยังเป็นต้นเหตุของโรคอ้วนและโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ (NCDs) หลายชนิด ทั้งโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง
วิธีแก้ไข : เลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง โดยเฉพาะน้ำหวาน น้ำอัดลม และน้ำผลไม้รสหวาน ลดผักและผลไม้ที่มีรสหวาน เน้นผลไม้ที่มีกากใยเยอะ ๆ ปริมาณน้ำตาลน้อย ๆ แทน เช่น มะละกอ แก้วมังกร แตงโม หรือแตงไทย เป็นต้น
พฤติกรรมเสี่ยงมะเร็งใกล้ตัวกว่าที่คิด แม้แต่การนอนดึก หรือการดื่มเครื่องดื่มร้อนจัด ที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้อง ก็กลายเป็นสาเหตุการเกิดโรคมะเร็งอย่างไม่น่าเชื่อ! ถ้าลองเช็คพฤติกรรมตัวเองแล้วมีมากกว่า 1 ข้อ รีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตั้งแต่วันนี้ และที่สำคัญอย่าลืมไปตรวจสุขภาพประจำปีด้วยนะ การตรวจพบมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรกช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาดได้มากขึ้น
สุดท้ายนี้ ถึงแม้เราจะป้องกันตัวเองดีแค่ไหน แต่ความเสี่ยงก็ยังมีอยู่ ดังนั้น ทำประกันมะเร็งเอาไว้อุ่นใจกว่า เพราะประกันจะช่วยดูแลค่าใช้จ่ายในการรักษามะเร็ง หมดกังวลเรื่องเงิน มีเวลาทุ่มเทกับการรักษาอย่างเต็มที่ แถมยังลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ถ้าสนใจแต่ไม่รู้จะเริ่มยังไงดี โบรกเกอร์ประกันอย่าง heygoody ทำการบ้านมาให้แล้ว! มาเช็คเบี้ยประกันและเปรียบเทียบความคุ้มครองที่เว็บไซต์ heygoody ได้เลย ซื้อง่าย คุ้มครองครอบคลุม วงเงินสูงสุดถึง 10 ล้าน
ที่มา : โรงพยาบาลเปาโล, ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย และโรงพยาบาลกรุงเทพ
การันตีความสำเร็จ จากเวทีระดับโลก
ดูรางวัลทั้งหมด