ประกันสุขภาพ OPD (Out-Patient Department) เป็นประกันสุขภาพสำหรับผู้ป่วยนอก คุ้มครองค่ารักษา ค่าปรึกษาแพทย์ และค่ายาตามปกติ ส่วนมากประกันแต่ละตัวให้ความคุ้มครองแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์ แม้จะเป็นประเภทเดียวกันก็ตาม การเลือกซื้อประกันสุขภาพ OPD จึงจำเป็นจะต้องอ่าน และเปรียบเทียบข้อแตกต่าง รวมไปถึงรายละเอียดยิบย่อยให้ชัดเจน จะได้ไม่เลือกกันผิดตัว และได้การคุ้มครองที่ตรงความต้องการมากที่สุด
ประกันสุขภาพ OPD (Out-Patient Department) คือ ประกันสุขภาพสำหรับผู้ป่วยนอก ที่ไม่เข้าเกณฑ์รับการรักษาและพักฟื้นกับทางโรงพยาบาลเกินกว่า 6 ชั่วโมง อธิบายง่ายๆ คือ ไม่ได้เจ็บป่วยรุนแรงจนต้องอยู่พักฟื้นกับโรงพยาบาล แต่ยังต้องรับการรักษาตามปกติ มีค่าปรึกษาแพทย์ และค่ายาตามอาการของโรค ได้รับการคุ้มครองตามเงื่อนไข
ความต่างของประกันสุขภาพ OPD และ IPD คือ เกณฑ์การวินิจฉัยจากแพทย์ว่า ต้องพักฟื้นกับทางโรงพยาบาลเพื่อดูแลอาการของผู้ป่วยต่อหรือไม่ ถ้าเกิน 6 ชั่วโมงขึ้นไป ก็เข้าเกณฑ์การพักฟื้นของประกันผู้ป่วยใน (IPD) ที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นมา เช่น ค่าห้องพัก ค่าอาหาร และค่าบริการเพิ่มเติมหลังการรักษาหรือผ่าตัด แต่ถ้าไม่จำเป็นต้องอยู่พักฟื้นที่โรงพยาบาล หรืออยู่ไม่เกิน 6 ชั่วโมง จะเข้าเกณฑ์ประกันแบบผู้ป่วยนอกแทน (OPD)
หลังจากเห็นความต่างของประกันสุขภาพ OPD และ IPD คงทำให้รู้แล้วว่า ประกันสุขภาพ OPD เหมาะกับทุกคน ไม่ว่าทำอาชีพอะไร อายุเท่าไหร่ หรือเพศไหน เพราะเรื่องสุขภาพและการเจ็บป่วยนั้นไม่เข้าใครออกใคร สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน การทำประกันไว้จะช่วยเซฟค่าใช้จ่ายไม่ให้บานปลายกว่าการจ่ายเองเต็มจำนวน
การคุ้มครองของประกันสุขภาพ OPD ครอบคลุมหลากหลาย และไม่ได้น้อยอย่างที่คิด แต่จะมีความแตกต่างกันในแต่ละกรมธรรม์ของประกันแต่ละเจ้า แต่หลักๆ มีการคุ้มครอง ดังนี้
ถ้าจะเลือกซื้อประกันสุขภาพ OPD ไว้คุ้มครองสักกรมธรรม์ มีวิธีเลือกให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ง่ายๆ เพียงแค่พิจารณาหลักเกณฑ์เหล่านี้ประกอบ ก็รู้ได้ไม่ยากว่าแบบไหนเหมาะสุดกับเหล่ากู๊ดดี้
ก่อนเลือกทำประกันสุขภาพ OPD ควรเช็คสวัสดิการที่มีอยู่ก่อน โดยเฉพาะคนทำงานประจำ อาจจะมีประกันกลุ่มคุ้มครองไว้อยู่แล้ว ถ้ารู้สึกว่ายังคุ้มครองไม่พอ ค่อยมองหาการคุ้มครองส่วนที่ขาดทำเพิ่มเติม
แน่นอนว่า ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ OPD ก็เป็นส่วนสำคัญที่ต้องพิจารณาให้ดี เพราะในระยะยาวอาจจะส่งผลกระทบทางการเงินได้ ดังนั้น ต้องเลือกให้เหมาะสมกับรายได้ประจำ ส่วนมากจะแนะนำไม่เกิน 10%-20% ต่อปี จะได้ไม่ยากเกินไปที่จะบริหารจัดการ
ประกันสุขภาพ OPD แต่ละเจ้าจะมีแผนการคุ้มครองที่ไม่เหมือนกัน ต้องตรวจเช็ครายละเอียดให้ครบถ้วน โดยเฉพาะ วงเงินที่ใช้รักษา จำนวนครั้งที่คุ้มครองต่อปี ข้อยกเว้น และระยะเวลาการรอคอย ทุกอย่างล้วนมีรายละเอียดค่อนข้างยิบย่อย จึงต้องเช็คให้ถี่ถ้วน
ประกันสุขภาพ OPD เหมาจ่ายและแยกจ่าย ต่างกันตรงที่จำนวนครั้งการคุ้มครองต่อปี แน่นอนว่าแบบเหมาจ่ายสะดวกกว่า เพราะคุ้มครองไม่จำกัดครั้งตามระยะเวลากรมธรรม์ ซึ่งแบบแยกจ่าย จะมีจำนวนครั้งความคุ้มครองน้อยกว่า แต่ค่าเบี้ยประกันก็ถูกลงตามไปด้วย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมว่าเจ็บป่วย หรือมีเหตุต้องเข้าโรงพยาบาลบ่อยแค่ไหน
โดยสรุปแล้ว ประกันสุขภาพ OPD มีไว้อุ่นใจกว่าไม่มีอย่างแน่นอน เพราะเรื่องสุขภาพเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ว่าจะเกิดการเจ็บป่วยขึ้นเมื่อไหร่ การมีประกันติดไว้สักหนึ่งฉบับจะช่วยให้อุ่นใจกับเงินในกระเป๋าเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นในชีวิต ถ้ายังไม่รู้ว่าจะทำประกันกับที่ไหน heygoody มีประกันสุขภาพเหมาจ่าย ให้เลือกถึง 3 แผนประกัน คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลครอบคลุมทั้งเจ็บป่วย ผ่าตัด อุบัติเหตุ ตั้งแต่ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าห้อง ICU ค่ารักษาพยาบาล ค่าธรรมเนียมแพทย์ ค่าผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ ตลอดจนค่าผ่าตัดต่างๆ ไม่ต้องสำรองจ่ายที่โรงพยาบาลเครือข่ายกว่า 600 แห่งทั่วประเทศ สะดวก ครบ จบในที่เดียว
ที่มาของข้อมูล : Kbank, SCB
การันตีความสำเร็จ จากเวทีระดับโลก
ดูรางวัลทั้งหมด