“ระบบตัดแต้มใบขับขี่” เป็นเงื่อนไขเพื่อช่วยกวดขันวินัยจราจรให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น จากพฤติกรรมการขับขี่ของคนไทยที่มีความเฉพาะตัว ไม่ว่ากฎระเบียบออกมายังไงก็ยังมีคนลักไก่ขณะสัญจรแบบนับไม่ถ้วน สำนักงานตำรวจแห่งชาติและกรมการขนส่งทางบกร่วมมือกันนำกติกาตัดแต้มใบขับขี่เข้ามาใช้ โดยหวังว่าจะทำให้ผู้ใช้รถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์มีวินัยจราจรที่ดี มีน้ำใจและมีจิตสำนึกต่อเพื่อนร่วมทาง
ถึงแม้ว่าการตัดแต้มใบขับขี่จะบังคับใช้แล้ว ก็ยังมีผู้ใช้รถจำนวนมากที่ไม่รู้เงื่อนไขต่าง ๆ ไล่ตั้งแต่ฐานความผิดที่กำหนด เกณฑ์การตัดแต้ม การเช็คแต้มใบขับขี่ด้วยตัวเอง รวมไปถึงวิธีการเอาแต้มคืนจากกรมการขนส่งทางบก เพื่อให้เหล่ากู๊ดได้เข้าใจและรู้ถึงสิทธิ์ของตัวเองมากขึ้น วันนี้ heygoody จะมาอธิบายให้ทุกคนเข้าใจเงื่อนไขการตัดแต้มว่าเคสไหนรอด เคสไหนโดน มาดูกัน
ผู้ใช้รถทุกคน ทั้งรถยนต์และมอเตอร์ไซค์จะมีแต้มเต็มทั้งหมด 12 แต้ม เมื่อทำความผิดจะถูกหักแต้มตามความหนักเบาของแต่ละเคส
การตัดแต้มมีตั้งแต่ 1-4 แต้ม ขึ้นอยู่กับประเภทของฐานความผิดที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดเอาไว้ทั้ง 4 ระดับดังต่อไปนี้
เมื่อถูกตัดแต้มใบขับขี่จนหมดเหลือ 0 บทลงโทษสูงสุดคือ การสั่งพักใบอนุญาตขับขี่และห้ามขับรถทุกประเภทเป็นเวลา 90 วัน โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้ครอบครองหนังสือแจ้งคำสั่งเอาไว้ ไม่ว่าคุณแอบขับรถไปเขตไหนจังหวัดอะไร เจ้าหน้าที่จะมีข้อมูลชุดนี้เป็นหลักฐาน ถ้าฝ่าฝืนในช่วงเวลาดังกล่าวมีสิทธิ์โดนจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
วิธีเช็คแต้มใบขับขี่ออนไลน์สามารถเข้าไปดูได้ด้วยตัวเองผ่าน 2 ช่องทางจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดังนี้
ช่องทางแรกเป็นเว็บไซต์ Police Ticket Management จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต้องลงทะเบียนในระบบก่อนใช้งาน เช็คได้ทั้งแต้มใบขับขี่ที่ถูกตัด แต้มที่ได้คืน รวมถึงใบสั่งค้างชำระย้อนหลัง 1 ปี มีระบบโต้แย้งใบสั่งเมื่อเกิดความผิดพลาดจากการทำงานของระบบและเจ้าหน้าที่ มีบริการชำระค่าปรับออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมงเลือกชำระได้ทุกช่องทาง
ช่องทางที่ 2 มาในรูปแบบแอปพลิเคชัน “ขับดี (KHUBDEE)” เช็คได้เหมือนในเว็บไซต์ Police Ticket Management แต่ถูกปรับหน้าตาให้เหมาะกับการใช้งานบนสมาร์ตโฟน มีลิสต์แนะนำเบอร์โทรศัพท์แจ้งเหตุฉุกเฉินเอาไว้ครบถ้วนทุกหน่วยงาน
การคืนแต้มแบ่งออกได้ 2 แบบคือ แบบคืนอัตโนมัติ และแบบคืนด้วยการอบกับกรมขนส่งทางบก
การคืนแต้มด้วยการอบรมกับกรมขนส่งทางบกต้องจองคิวผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue หรือเว็บไซต์ gecc.dlt.go.th เท่านั้น แบ่งออก 2 กรณี
เมื่อแต้มเหลือน้อยกว่า 6 แต้ม ขอเข้ารับอบรมหลักสูตรจากกรมขนส่งทางบกได้ 2 ครั้งต่อปี มีค่าใช้จ่ายตามแต้มที่ถูกตัด ดังนี้
ต้องอบรมทั้งหมด 4 ชั่วโมง เสีย 300 บาท ได้แต้มคืนเต็มจำนวน 12 แต้มเต็มแต่ยังไม่จบแค่นี้ หลังอบรมเสร็จ ต้องเข้าทดสอบและทำแต้มเกิน 60% ถ้าไม่ผ่านสามารถนัดแก้ตัวครั้งที่ 2 ได้ในวันเดียวกัน หรือนัดทดสอบครั้งที่ 3 ภายใน 7 วันนับจากวันที่ไม่ผ่านการทดสอบ เมื่อทำแต้มผ่านแล้ว สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะคืนแต้มให้ตามปกติ
ถ้าทุกคนได้อ่านเงื่อนไขต่าง ๆ จะเห็นว่าการเอาแต้มคืนให้ครบทั้งหมดเป็นอะไรที่ยุ่งยากสุด ๆ ต้องเสียเวลาเพื่อไปอบรมตามหลักสูตร และแน่นอนว่าต้องไปในเวลาทำการจันทร์-ศุกร์เท่านั้น เห็นมั้ยว่ากว่าจะได้แต้มคืนครบไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ ถ้ามองในแง่ดีถือว่าเป็นการบังคับตัวเองให้รอบคอบและมีจิตสำนึกต่อส่วนรวมมากขึ้น ไม่ต้องเคลมประกันรถยนต์บ่อย ๆ ให้เสียประวัติอีกด้วยสำหรับใครกำลังมองหาประกันภัยรถยนต์ที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์การขับขี่ของตัวเอง heygoody มีแผนประกันจากบริษัทชั้นนำให้เลือก ชำระเงินได้หลายช่องทาง หรือจะผ่อน 0% ก็ได้ เปรียบเทียบแผนประกัน คลิกเลย!
การันตีความสำเร็จ จากเวทีระดับโลก
ดูรางวัลทั้งหมด